Page 63

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-42 (5) ป่าทดแทนหรือ ป่ารุ่นที่สอง (successional forest/secondary forest) ป่าทดแทนหรือป่ารุ่นที่สอง เกิดขึ้นโดยการส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ป่าหลากหลายชนิดขึ้น ในบริเวณที่รกร้างว้างเปล่าของพื้นที่อุทยานฯ พันธุ์ไม้ที่ใช้ปลูก เช่น นนทรี (Peltophorum pterocarpum (DC.)Backer ex K. Heyne) กระถินณรงค์ (Acacia auriculaeformis A. Cunn. ex Benth.) ขี้เหล็ก (Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby) สะเดา (Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton) และมะขามเทศ (Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.) เป็น ต้น เมื่อดำเนินการปลูกได้ระยะหนึ่งจากนั้นก็ปล่อยให้เกิดการฟื้นตัวหรือทดแทนเป็นไปตาม ธรรมชาติ พบว่ามีชนิดพรรณไม้ในป่าดิบแล้งและป่าผสมผลัดใบ หลายชนิด เกิดและตั้งตัวได้ ภายในป่าทดแทน เช่น มะพลับ (Diospyros malabarica (Desr.) Kostel. var. Siamensis (Hochr.) Phengklai) ขันทองพยาบาท (Suregada multiflorum (A.Juss.) Baill.) โมก (Wrightia pubescens R. Br.) มะกอกป่า (Spondias pinnata (L. f.) Kurz) และมะค่าแต้ (Sindora siamensis Teijsm. & Miq.) เป็นต้น (ภาพที่ 2.12) ผลการสำรวจ พบว่า พันธุ์ไม้เด่นในพื้นที่ป่า ทดแทน เมื่อพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญ (Importance value index, IVI) คือ นนทรี ข่อย (Streblus asper Lour.) สะเดา ขี้เหล็ก มะขามเทศ มะพลับ กระถินณรงค์ ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus Willd.) และขันทองพยาบาท โดยมีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 94.05, 59.77, 41.17, 28.80, 12.18, 9.31, 7.37, 6.50 และ 6.16 ตามลำดับ (ตารางที่ 2.5) โดยที่พรรณ ไม้นนทรี และข่อย มีความหนาแน่น มากที่สุด คือ 353.33 ต้นต่อเฮคแตร์ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above