12 มี 2 ประเภท คือ อนินทรีย์สารและอินทรีย์สาร ดังนี้ 2.4.9.1.ธาตุอาหารประเภทอนินทรีย์.(Inorganic.minerals).ที่จ าเป็นในการด ารงชีวิต ในป่าชายเลน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม ส่วนใหญ่ป่าชายเลนจะมีธาตุอาหารประเภทนี้ในปริมาณที่มากพอยกเว้นไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ที่มีปริมาณค่อนข้างน้อย จึงเป็นตัวจ ากัดการเจริญเติบโตของพืชในป่าชายเลน แหล่งที่มาของธาตุอาหารอนินทรีย์สาร คือ น้ าฝน น้ าที่ไหลผ่านแผ่นดิน ดินตะกอน น้ าทะเล และจากการผุสลายของอินทรียวัตถุในป่าชายเลน 2.4.9.2 ธาตุอาหารประเภทอินทรีย์สาร (Organic minerals) หมายถึง สารอาหาร อินทรีย์ที่มีต้นก าเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ ในการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ แหล่งที่มาที่ส าคัญของธาตุอาหารชนิดนี้มี 2 แหล่ง แหล่งแรก คือ จากป่าชายเลน ได้แก่ ไดอะตอม แพลงก์ตอนพืช.แบคทีเรีย.สาหร่าย.รากไม้.และพืชชนิดอื่นๆ.ส่วนแหล่งที่.2.มาจากล าธาร ตะกอนดินจากการกัดเซาะชายฝั่ง.การชะล้างของน้ าบนภูเขา.ซากพืชและซากสัตว์ ที่อยู่ ชายฝั่งทะเลหรือในทะเลและชนิ้ ส่วนตา่ งๆ ของพืชที่ลมพัดพามา 2.5 การปรับตัวของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน สังคมพืชป่าชายเลนขึ้นอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเลที่มีกระแสน้ าขึ้นลงอยู่เสมอและน้ า มีความเค็มสูง พันธุ์ไม้จึงจ าเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมและ สามารถอยู่รอดแพร่กระจายพันธุ์ไม้ต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง.พิพัฒน์.พัฒนผลไพบูลย์.(2522.:.37) กล่าวว่า ป่าชายเลนมีระบบรากที่มีความทนทานต่อสภาวะพิเศษส าหรับการดูดอาหาร การใช้น้ า และออกซิเจนในโคลนซึ่งเป็น.Anaerobic.condition.ระบบรากของป่าชายเลนมีส่วนช่วยยึดพื้นที่ ที่ไม่มั่นคง.(Unstable.substratum).โดยมีระบบรากที่แตกต่างกัน สกุลไม้โกงกาง.(Rhizophorasspp.) มีรากค้ าจุน.(Stilt.root).อยู่รอบล าต้นสกุลไม้ล าพู.(Sonneratia.spp.).และสกุลไม้แสม.(Avicennia.spp.) จะมีรากตามแนวนอน.(Horizontal).มีรากหายใจ.(Pneumatophore).โผล่ตั้งตรงขึ้นจากดินโคลน ซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่งคล้ายตอร์ปิโด สกุลไม้ประสัก.(Bruguiera.spp.).และสกุลไม้ฝาด.(Lumnitzera.spp.) จะมีรากส่วนบนงอคล้ายเข่า.(Knee.-.like.root).ส่วนสกุลไม้ตะบูน.(Xylocarpus).มีรากหายใจ เป็นแผ่นใหญ่หนา ส าหรับสกุลไม้โปรง.(Ceriops).บริเวณโคนต้นและรากที่พ้นผิวดินจะมี Lenticle ขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นร่อง.ไม้ป่าชายเลน.Rhizophoraceae.มีความแตกต่างจากพันธุ์ไม้ ป่าชนิดอื่นๆ คือ ผลจะงอกในขณะที่ติดอยู่บนต้นไม้เมื่อหล่นบนดินเลนแล้วสามารถเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์ได้
ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above