Page 32

ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

18 ความหนาแน่น การปกคลุม มวลชีวภาพ พื้นที่หน้าตัดต่อหน่วยพื้นที่ 2.10.1 ความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ (Density) ความหนาแน่น คือ จ านวนของพรรณพืช ชนิดหนึ่งต่อหน่วยเนื้อที่ (อิสริยา วุฒิสินธุ์. 2544 : 44) ในการศึกษาสังคมพืช ความหนาแน่นนี้ จะท าการนับในแปลงตัวอย่างขนาดเล็ก ความหนาแน่นของพรรณพืชจะเป็นจ านวนต้น ของพรรณพืชนั้นๆ ต่อหน่วยเนื้อที่หรือต่อแปลงตัวอย่าง ขนาดของแปลงตัวอย่างที่เหมาะสม ส าหรับการนับต้นไม้ คือ ขนาด 10.x.10 เมตร ส่วนไม้พื้นล่างที่มีความสูงจนถึง 3 เมตร ใช้แปลงตัวอย่างขนาด 4.x.4 เมตร ได้สรุปว่ารูปร่างของแปลงตัวอย่างพืชที่ใช้หาค่าความ หนาแน่นของต้นไม้จะมีผลต่อความถูกต้องในการนับจ านวนต้นไม้นั้น และแปลงตัวอย่างที่เป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะมีประสิทธิภาพและมีความถูกต้องแน่นอนมากกว่าแปลงตัวอย่างที่เป็นรูป วงกลมหรือแปลงตัวอย่างแบบอื่นๆ เพราะโดยทั่วไปแล้วพรรณพืชมักจะขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม หรอื เป็นหม ู่ ค่าความหนาแนน่ ที่นิยมใชใ้ นการศกึ ษาอีกอย่างหน่งึ คือ ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative.density) ซึ่งเป็นค่าอัตราส่วนระหว่างจ านวนต้นของพืชชนิดนั้นต่อจ านวนต้นของพืช ทุกชนิดรวมกัน จากข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวมข้อมูล พบว่าความหนาแน่นของต้นไม้ป่าชายเลน ในประเทศไทย โดยคิดค่าเฉลี่ยจากความหนาแน่นต้นไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนของภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยประมาณ 1,305.77 ต้นต่อเฮกแตร์ เมื่อจ าแนกเป็นรายภาค.พบว่า.พื้นที่ป่าชายเลนภาคตะวันออก.ภาคกลาง.และภาคใต้ มีความหนาแน่นของต้นไม้เฉลี่ยประมาณ 1,938 1,587 และ 393.32 ต้นต่อเฮกแตร์ ตามล าดับ จากข้อมูลความหนาแน่นของต้นไม้ อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ป่าชายเลนภาคตะวันออกและ ภาคกลาง มีความหนาแน่นของต้นไม้สูงกว่าป่าชายเลนภาคใต้ของประเทศไทย.ทั้งนี้เป็นผลมาจาก พื้นที่ป่าชายเลนทางภาคตะวันออกและภาคกลางมีโครงการปลูกกล้าไม้ในพื้นที่เสื่อมโทรม อย่างสม่ าเสมอ ดังนั้นในการส ารวจจึงพบความหนาแน่นของต้นไม้สูง แตกต่างจาก พื้นที่ป่าชายเลนทางภาคใต้ ซึ่งมักเป็นป่าธรรมชาติประกอบด้วยต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่ม ดังนั้นในการส ารวจจึงพบความหนาแน่นของต้นไม้ต่ ากว่า 2.10.2 ความถี่ของพรรณพืช (Frequency) ความถี่ เป็นค่าที่ชกี้ ารกระจายของพันธุ์พืช แต่ละชนิดในพื้นที่นั้นๆ มักจะบอกค่าของความถี่นั้นเป็นเปอร์เซ็นต์ ค่าค วามถี่นี้เป็นวิธีการ วิเคราะห์ในเชิงปริมาณที่ด าเนินการได้อย่างรวดเร็วมากกว่าการนับจ านวนต้นไม้แต่ละต้นหรือ วัดการปกคลุมหาได้จากการสุ่มตัวอย่างพรรณพืช โดยใช้แปลงตัวอย่างหรือ ควอทแดรท (สมศักดิ์ สุขวงศ์. 2520 : 26) แล้วบันทึกชนิดต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในแต่ละแปลงควอทแดรทนั้น Gleason.H.A..(1920.:..55).กล่าวว่า.พืชที่มีการกระจายทั่วพื้นที่โอกาสที่จะปรากฏอยู่ใน แปลงที่ศึกษาทุกแปลงก็มีมาก อาจมีค่าความถี่สูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพืชที่กระจายอยู่


ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above