19 เพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งของป่า ถึงแม้จะมีจ านวนต้นมาก แต่กระจายไม่ทั่วพื้นที่ ดังนั้น ความถี่ของพืชชนิดนั้นจะมีค่าต่ า ด้วยเหตุนี้พืชชนิดที่มีค่าความถี่สูง จะเป็นพืชที่มีการกระจาย สม่ าเสมอทั่วพื้นที่ป่า ค่าความถี่ที่ใช้ศึกษากันมาก คือ ค่าความถี่สัมพัทธ์ (Relative.frequency) เป็นอัตราของค่าความถี่ของพืชชนิดนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลรวมของค่าความถี่ของพืชทุกชนิด ที่ปรากฏในแปลงตัวอย่าง ค่านี้มีประโยชน์ในการหาความส าคัญทางนิเวศวิทยาของพรรณพืช แต่ละชนิดในสังคม 2.10.3 ความเด่นของพรรณพืช (Dominance) ความเด่น เป็นค่าที่ชี้ให้เห็นว่าพืชชนิดนั้น มีอิทธิพลต่อสังคมพืชที่ขึ้นอยู่มากน้อยเพียงใด พรรณพืชที่มีความเด่นมากเป็นพรรณพืช ที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่นั้นมาก เช่น อิทธิพลในการบดบังแสงสว่างที่ส่องลงไปถึงพื้นดิน ความเด่น ของพรรณพืชสามารถบอกได้ในรูปต่างๆ เช่น ปริมาตร มวลชีวภาพของพืช พรรณพืชที่มี มวลชีวภาพมากที่สุดจะเป็นพรรณพืชเด่น นอกจากนี้สามารถวัดความเด่นได้จาก ขนาดพื้นที่หน้าตัดของพรรณพืช โดยการวัดที่ระดับความสูงเพียงอก ซึ่งพื้นที่หน้าตัดนี้ จะมีความสัมพันธ์กับขนาดเรือนยอด พรรณพืชที่มีพื้นที่หน้าตัดมากจะมีความเด่นมาก (Shimwell.D.W..1971.:.322) ความเด่นของพรรณพืชสามารถบอกได้ในรูปของความเด่น สัมพัทธ์ (Relative.dominance) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างความเด่นของพรรณพืชชนิดนั้นกับ ผลรวมของความเด่นของพรรณพชื ทุกชนิดที่ปรากฏในพืน้ ที่ศึกษา 2.10.4 ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species.diversity) หมายถึง ความมากน้อย ของชนิดพันธุ์ ซึ่งอาศัยอยู่ในระบบนิเวศหนึ่งๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับความเด่นของพรรณพืช (Krebs.C.L..1972.:.346) สังคมพืช ที่มีชนิดพันธุ์มากแสดงว่าพื้นที่มีความแปรผันของปัจจัย สิ่งแวดล้อมมาก ในสังคมพืชที่มีพืชเด่นเป็นจ านวนมากจะท าให้จ านวนชนิดพันธุ์อื่นๆ ลดน้อยลง ความหลากหลายของชนิดพันธุ์นี้จะชี้ให้เห็นถึงเสถียรภาพ (Stability) ของสังคมพืช และจะเพิ่มมากขึ้นไปตามยุคของการทดแทนของพันธุ์พืช กล่าวคือในยุคต้นๆ จะพบพันธุ์พืช เพียงไม่กี่ชนิด แต่การเพิ่มชนิดพันธุ์ ซึ่งจะเพิ่มจนถึงจุดๆ หนึ่งที่ค่อนข้างเสถียรภาพ (Stability) นอกจากนี้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์จะเพิ่มมากขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของ พื้นที่นั้นๆ ส าหรับการวิเคราะห์ความหลากหลายของชนิดพันธุ์นั้นมีองค์ประกอบที่ส าคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ความมากมายของชนิดพันธุ์ (Species.richness) คือ จ านวนชนิดพันธุ์ทั้งหมด ในสังคมพืชและความสม่ าเสมอ (Species evenness) คือ การกระจายจ านวนในแต่ละชนิดพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ทั้งหมดในสังคม และจากค่าทั้งสองที่กล่าวมานั้น นักนิเวศวิทยาได้ท าการ รวมค่าทั้ง 2 ค่า ให้อยู่ในรูปเดียว คือ เป็นค่าเดียวและเรียกค่าที่ได้นี้ว่า ดัชนีความหลากหลาย ( Diversity.index) . ส า ห รับ ก า รวัด คว า ม หล า ก ห ล า ย ข อ งช นิ ด พร ร ณพื ช ภ าย ใ นสัง ค ม สามารถกระท าได้ โดยใช้ ดัชนี ความหลากหลาย ซึ่ งมี อยู่ หลายวิ ธี เช่ น .Fisher’s.index
ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above