Page 35

ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

21 ปริมาณผลผลิตของต้นไม้ในรูปของท่อนไม้ ไม้ซุง หรือไม้แปรรูป โดยมีหน่วยในการวัด เป็นลูกบาศก์เมตรหรือลูกบาศก์ฟุต ปริมาตรของต้นไม้แต่ละต้นที่มีค่าแตกต่างกันนั้น เนื่องมาจากอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความโตของต้นไม้ ความสูงของต้นไม้ ความหนาแน่น ของหมู่ไม้ รูปทรงของต้นไม้ อายุของต้นไม้ชั้นคุณภาพของท้องที่และสภาพสิ่งแวดล้อม (ชาญ บุญญสิริกูล. 2513.:.12) ปริมาตรไม้ของไม้บริเวณหนึ่งจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นกับ ความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ ขนาดของไม้และชนิดของพันธุ์ไม้ (Macnae W. 1968 : 210) การค านวณหาปริมาตรของไม้แต่ละต้น แต่ละชนิดนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถน าไป ค านวณหาปริมาตรได้ใกล้เคียงมากที่สุดควรจะท าการวัดไม้โดยวิธี Relative.section.method. คือ.ต้นของไม้ที่จะค านวณหาปริมาตรจะถูกแบ่งออกเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนมีความยาวเท่ากัน ทั้งนี้เพราะความเรียวของต้นไม้ในตอนโคนและตอนปลายของล าต้นมีมาก ส่วนตอนกลาง ของล าต้นนั้นจะมีความเรียวน้อยที่สุด การค านวณปริมาตรจากท่อนไม้ที่ได้แบ่งออกแต่ละท่อน แล้วน าปริมาตรไม้ของแต่ละท่อนมารวมกันเป็นปริมาตรของไม้ทั้งต้นจะมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เมื่อท าการค านวณหาปริมาตรไม้รายต้นได้แล้ว จึงสามารถน าไปใช้ในการประมาณหาปริมาตร ของต้นไม้ในป่า โดยอาศัยหลักการความสัมพันธ์ที่ว่าปริมาตรของต้นไม้ขึ้นอยู่กับขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงของต้นไม้ ดังนั้นสมการปริมาตรไม้แต่ละสมการจึงเหมาะสม ในการใช้กับไม้แต่ละชนิด อีกทั้งการสร้างสมการปริมาตรโดยการเลือกใช้โมเดลที่เหมาะสมกับ ข้อมูลที่ท าการส ารวจจึงเป็นเรื่องที่ส าคัญมาก แต่สมการปริมาตรไม้เพียงสมการเดียวอาจจะไม่ เหมาะสมกับไม้ทุกขนาดความโต ซึ่งอยู่กับช่วงหรือขนาดของไม้ตัวอย่างที่น ามาหาปริมาตรและ สร้างสมการปริมาตรไม้ ดังนั้น ในแต่ละช่วงขนาดความโตจะมีสมการปริมาตรที่เหมาะสมที่ใช้ ในการประมาณหาปริมาตรไม้ (Gartner.and Beuschel. 1962 : 211 อ้างถึงใน ชาญ บุญญสิริกูล. 2513 : 102) มีนักวิจัยที่ศึกษาลักษณะโครงสร้างของป่าชายเลน โดยศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลปริมาตรไม้ ของป่าชายเลนบริเวณท้องที่ต่างๆ มีดังนี้.พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์ (2522) ได้ศึกษาปริมาตร ของไม้ป่าชายเลนท้องที่อ าเภอเขาสมิง จังหวัดตราด พบว่า มีจ านวนปริมาตรไม้ประมาณ 70.25 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์.พัชรี เอี่ยมผา.(2526) ได้ศึกษาปริมาตรของไม้ป่าชายเลน ท้องที่อ าเภอเมืองระนองและอ าเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง พบว่า มีปริมาตรไม้ประมาณ 255 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ วชิร จ่ายพงษ์ (2531) ได้ศึกษาปริมาตรของไม้ป่าชายเลนท้องที่ อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า มีจ านวนปริมาตรไม้ประมาณ 58.03 ลูกบาศก์เมตร ต่อเฮกแตร์ พิสิษฐ์ ปิยสมบุญ (2531).ได้ศึกษาปริมาตรของไม้ป่าชายเลนท้องที่อ าเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา พบว่า มีจ านวนปริมาตรไม้ประมาณ 88.69 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ ธนากร อ้วนอ่อน และคณะ (2531) ได้ศึกษาปริมาตรของไม้ป่าชายเลนบริเวณอ่าวทุ่งคาและ


ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above