Page 38

ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

24 2.11 สัตว์ในป่าชายเลน ในป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์จึงมีสัตว์หลายชนิดทั้งที่เป็นสัตว์น้ า ขนาดเล็กและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น โพรโตซัว หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน และไส้เดือนทะเล สัตว์เหล่านี้จะด ารงชีวิตหลายรูปแบบ กล่าวคือ บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้และจับสัตว์อื่น เป็นอาหาร บางชนิดสามารถฝังตัวอยู่กับที่และกรองอาหารจากน้ า บางชนิดก็ฝังตัวอยู่กับที่ แต่มีหนวดหรือรยางค์ออกกวาดอินทรีย์สารกินเป็นอาหาร หอยที่พบ ได้แก่ หอยสองฝา เช่น หอยนางรม หอยแครง และหอยจอบ ซึ่งอาจจะฝังตัวอยู่ในดินหรือเกาะตามรากและล าต้น ของไม้ในป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีหอยเจาะซึ่งพบมากตามซากไม้ที่หักพัง หอยฝาเดียว ที่พบมาก ได้แก่ หอยขี้นก หอยขี้กา สัตว์จ าพวก ครัสเซียน (สัตว์น้ าที่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว) ที่พบในบริเวณนี้ได้แก่ กุ้งและปู เช่น ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูม้า และปูทะเล นอกจากนี้จะพบ เพรียงหินที่เกาะตามรากพืชหรือ ตามต้นไม้ แมลงสาบทะเลจะพบได้ตามซากพืชใบไม้ที่ร่วง ตามพื้นในในป่าชายเลน ปลิงทะเล พบได้ในบริเวณป่าชายเลนที่ติดต่อกับทะเลที่มีความเค็ม ของน า้ ค่อนขา้ งสูงทัดเทียมกับน้ าทะเล สัตว์มกี ระดูกสันหลังที่พบได้ในบริเวณป่าชายเลน ได้แก่ ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาตีน ปลาเข็ม นกนานาชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ านม เช่น ค้างคาว ลิงลม ลิงแสม หนูบ้าน นาก เสือปลา แมวป่า เสือโคร่ง หมูป่า และเก้ง งูชนิดต่างๆ ตะกวด เต่า และยังพบจระเข้เข้ามาอาศัยอยู่ในป่าชายเลนอีกด้วย (วันชัย อิงปัญจลาภ. 2536 : 44) จากการศึกษาของ จิตต์ คงแสงชัย และธีรภัทร.ประยูรสิทธิ์.(2533.:.28.-.39) ได้ส ารวจสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (ยกเว้นปลา) ในบริเวณป่าชายเลนในประเทศไทย พบว่า มีจ านวน 68 วงศ์ 177 สกุล 278 ชนิด แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้.1).สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 13 วงศ์ 24 สกุล รวม 36 ชนิด 2) สัตว์ปีก 38 วงศ์ 122 สกุล รวม 204 ชนิด 3) สัตว์เลื้อยคลาน 13.วงศ์.27.สกุล.รวม.32.ชนิด.4).สัตว์สะเทินน้ าสะเทินบก .4.วงศ์.4.สกุล.รวม.6.ชนิด โดยสามารถจ าแนกประเภทการเข้าไปใช้ประโยชน์ในป่าชายเลน ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ.1).กลุ่มที่ อาศัยหากินและใช้ประโยชน์อื่นๆ ในป่าชายเลนเป็นประจ า.2).กลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ ป่าชายเลน บางครั้งเข้ามาหากินในป่าชายเลน .3).กลุ่มที่ย้ายถิ่นจากแหล่งอื่นมาหากิน ในป่าชายเลนเพียงบางช่วงฤดูกาล 2.11.1 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ านมในบริเวณป่าชายเลน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ านมที่ส าคัญ ได้แก่ ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (Pteropus.lylef).ลิงลม (Nyticebus.coucang) นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata) เสือปลา (Felis vyverrina) กระจงควาย (Tragulus napt) หมูป่า (Sus scrofa) เก้ง (Muntiacus muntjak) กวาง (Cervus unicolor) เป็นต้น


ปัญหาพิเศษ เรื่อง ปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน การศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าชายเลน ในพื้นที่คลองบางตราใหญ่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above