4-5 วิธีการศึกษา - รวมรวมและสังเคราะห์ข้อมูลทุติภูมิในพื้นที่ศึกษา ว่ามีรายงานการศึกษาด้านการ ปรากฏของนก สถานภาพและการกระจาย ในแต่ละระบบนิเวศ - คัดเลือกพื้นที่ตัวแทนของแต่ละระบบนิเวศ - ดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลในพื้นที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลปัจจุบัน โดยการเก็บข้อมูล ทั้งการพบเห็นตัวโดยตรง และทางอ้อม โดยดำเนินการศึกษาตามวิธีต่างๆดังนี้ วิธีสำรวจนกตามจุด (point counts) แยกตามระบบนิเวศ ดังนี้ กระจายทั่วทั้ง 2 พื้นที่ จำนวนทั้งหมด 37 จุด แยกตามระบบนิเวศ ดังนี้ ระบบนิเวศป่าไม้ 16 จุด ระบบนิเวศภูเขา 8 จุด ทั้งสองระบบนิเวศนี้ทำการสำรวจทั้งหมด 2 ครั้ง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 24 แปลง ระบบนิเวศเกษตร 9 จุด พื้นที่รกร้างที่มีการใช้ประโยชน์ในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ 4 จุด ทำการสำรวจทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 52 แปลง ในขณะสำรวจแต่ละจุด (แปลง) ทำการบันทึกชนิดและจำนวนนก ทุกชนิดในระยะเวลา 10 นาที ภายในรัศมีวงกลม 50 เมตรโดยผู้สำรวจยืนอยู่ ณ จุดศูนย์กลาง วิธีการเดินสำรวจตามเส้นทางและนับนกทั้งหมดโดยตรงโดยอาศัยเทคนิคการสำรวจแบบ Road side count นำมาใช้กับนกบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนในระบบนิเวศทางทะเลและ ชายฝั่งทะเล ภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร บันทึกชนิดและจำนวนนกที่พบในแต่ละ ครั้งทำการสำรวจทั้งหมด 7 ครั้ง การส่องไฟในเวลากลางคืน (spotlighting) (1.3) การศึกษาสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน อุปกรณ์ - ถ่านไฟฉาย พร้อมถ่าน - แบตเตอรีสำหรับส่องหาสัตว์ในเวลากลางคืน - ถุงพลาสติก และถุงผ้าสำหรับใส่สัตว์ - สวิงสำหรับช้อนลูกอ๊อด - ซ้อมพรวนหรือจอบ - รับวางแปลงและเทปวัดระยะ - ปี๊บ - ชุดเครื่องมือผ่าตัดเล็ก สำหรับการเก็บรักษาตัวอย่าง รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above