Page 143

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

4-9 รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร วิธีการศึกษา - รวมรวมและสังเคราะห์ข้อมูลทุติภูมิในพื้นที่ศึกษา ว่ามีรายงานการศึกษาด้านการ ปรากฏของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน สถานภาพและการกระจาย ในแต่ละ ระบบนิเวศ - คัดเลือกพื้นที่ตัวแทนของแต่ละระบบนิเวศ - ดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลในพื้นที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลปัจจุบันโดยการเก็บข้อมูล ทั้งการพบเห็นตัวโดยตรง และทางอ้อมตามวิธีต่างๆดังนี้ �� การสำรวจแบบเห็นตัว (Visual Encounter Survey) ใช้การเดินสำรวจโดยการ เดินสุ่มไปตามแหล่งที่อยู่อาศัย ลำน้ำ ไปตามเส้นทางที่กำหนดเวลาสำรวจ �� การสำรวจโดยใช้แปลงสำรวจ (Quadrant Sampling) เป็นการสำรวจโดยใช้ แปลงสำรวจขนาดความกว้าง 5x5 เมตร เพื่อสำรวจสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน หรือ ในดิน โดยทำขอบเขตแปลงขนาด 5x5 เมตร ให้ชัดเจน บันทึก ข้อมูลสภาพแวดล้อม จากนั้นจัดคนสำรวจให้อยู่ในแต่ละด้านของแปลงสี่เหลี่ยม อย่างน้อยข้างละ 1 คน ทำการคุ้ยเศษใบไม้ กิ่งไม้ในบริเวณแปลงให้เห็นขอบเขตแปลงสำรวจที่โล่งเตียน จากนั้นทุก คนหันหน้าเข้าหาใจกลางแปลงสำรวจและทำการคุ้ยหาสัตว์ที่ซ่อนอยู่ใต้ใบไม้แห้งขอนไม้ผุ ก้อน หิน หรืออยู่บนต้นไม้ และใช้ซ้อมพรวนขุดหาสัตว์ที่อาจจะหลบอยู่ใต้ดิน การสำรวจจะดำเนินการ ในเวลากลางวัน �� การสำรวจโดยการวางกับดัก (Trap Survey) เป็นการวางหลุมกับดัก โดยใช้ การฝังปี๊บเพื่อใช้ดักสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน การฝัง ปี๊บจะเป็นแบบสุมกระจายไปในแต่ละพื้นที่ศึกษา �� การสำรวจวัยอ่อน (Larvae sampling) เป็นการสำรวจวัยอ่อนของสัตว์สะเทิน น้ำสะเทินบก ทำการเก็บตัวอย่างจากแหล่งที่อยู่อาศัย ตามแหล่งน้ำ และพื้นที่นอกแหล่งน้ำเช่น ส่วนต่างๆของลำต้นพืช โพรงไม้ เพราะบางครั้งการสำรวจไม่พบตัวเต็มวัยแต่พบระยะที่เป็นวัยอ่อน - ทำการจำแนกชนิดและนับจำนวนของตัวอย่างที่พบในแต่ละวิธีการศึกษา เก็บตัวอย่าง ตัวที่ไม่สามารถระบุชนิดได้ในน้ำยาสำหรับเก็บรักษาตัวอย่าง เพื่อนำมาจำแนกชนิดใน ห้องปฏิบัติการ กรณีของวัยจำอ่อนที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้ นำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจน เป็นตัวเต็มวัยและจำแนกชนิดในภายหลัง


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above