Page 144

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

4-10 การวิเคราะห์ข้อมูลสัตว์ป่าประเภทนก (1) ค่าร้อยละของความถี่ (frequency percentage) และค่าความชุกชุม (relative abundance) การวิเคราะห์ค่าร้อยละของความถี่ก็เพื่อนำค่าไปประเมินความชุกชุมของนกดังมี รายละเอียดการคำนวณดังนี้:- ค่าร้อยละของความถี่ = จำนวนครั้งที่สำรวจหรือจำนวนแปลงสำรวจที่พบนก x 100 จำนวนครั้งที่สำรวจหรือจำนวนแปลงที่สำรวจทั้งหมด เมื่อคำนวณค่าร้อยละของความถี่ของนกต่ละชนิดได้แล้วจากนั้นจึงนำค่าที่ได้ไปกำหนด เกณฑ์เพื่อหาระดับความชุกชุม ดังนี้:- การกำหนดความกว้างของแต่ละระดับความชุกชุมคิดได้จาก: ค่าร้อยละความถี่ที่มีค่ามากที่สุด – ค่าร้อยละความถี่ที่น้อยที่สุด 3 การใช้ 3 เป็นตัวหารเนื่องจากได้แบ่งระดับความชุกชุมออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ พบมาก พบปานกลาง และพบน้อย ดังแสดงวิธีการคิดคำนวณดังนี้: หากค่าร้อยละความถี่ที่มากที่สุดของสัตว์ที่พบ = 100 และค่าร้อยละความถี่น้อยที่สุดของสัตว์ที่พบ = 14.29 ดังนั้นความกว้างของระดับความชุกชุมในแต่ละระดับ = 100-14.29 3 = 28.57 ผลของการจัดความกว้างของระดับความชุกชุมของนกในครั้งนี้คือ: ระดับความชุกชุมน้อย 14.29-42.86 ระดับความชุกชุมปานกลาง 42.86- 71.43 ระดับความชุกชุมมาก 71.43-100 หลังจากนั้นจึงนำค่าร้อยละความถี่ของนกแต่ละชนิดที่คำนวณได้มาหาระดับความชุกชุม ตามเกณฑ์ที่ได้จากการคำนวณหาความกว้างของแต่ละระดับความชุกชุม รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above