4-19 เนื่องจากอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ตั้งอยู่ภายในค่ายพระรามหก ซึ่งภายในมี ระบบนิเวศหลากหลาย คือ ป่าชายเลน สวนสน สวนป่า พื้นที่รกร้าง จึงต้องใช้วิธีการแตกต่างกัน ไป ในป่าชายเลนใช้วิธีการเดินสำรวจนกตามเส้นทาง ทำการสำรวจทั้งสิ้น 7 ครั้ง พบนกทั้งหมด 73 ชนิด นกที่มีระดับความชุกชุมพบมากมีจำนวน 24 ชนิด เช่น นกกระเต็นหัวดำ นกกระแตแต้แว้ด และนกกินปลีอกเหลือง เป็นต้น พบปานกลาง 12 ชนิด เช่น นกกระจิบธรรมดา นกเขาชวา และนก ตีนเทียน เป็นต้น และพบน้อย 37 ชนิด เช่น นกกะรางหัวขวาน นกกางเขนบ้าน และนกขมิ้นน้อย ธรรมดา ตามตารางที่ 4.4 นอกจากนี้เป็นนกอพยพ 21 ชนิด เช่น นกชายเลนบึง (Tringa stagnatilis (Bechstein) 1803) นกหัวโตหลังจุดสีทอง (Pluvialis fulva (Gmelin) 1789) นก กระเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis (Linnaeus) 1758) เป็นต้น และนกกระสาแดง ที่มี สถานภาพแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) ตามสำนักนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากินอยู่ในบริเวณที่ป่าชายเลนที่มีการฟื้นฟู ภายในค่ายพระรามหกยังมีการปลูกสนทะเลเป็นแปลง และเป็นแนวยาว จึงทำการสำรวจ นกในบริเวณดังกล่าวโดยใช้วิธีกำหนดจุดสำรวจ (point counts) จำนวน 4 จุด พบนกทั้งหมด 28 ชนิด นกที่มีระดับความชุกชุมพบมาก ได้แก่ นกกาเหว่า (Eudynamys scolopacea (Linnaeus) 1758) นกกินปลีอกเหลือง (Nectarinia jugularis (Linnaeus) 1766) นกแซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus (Vieillot) 1817) นอกจากนี้ยังพบนกเอี้ยงสาลิกา (Acridotheres tristis (Linnaeus) 1766.) นกเอี้ยงหงอน (Acridotheres cinereus Blyth, 1842) และนกเอี้ยงด่าง (Sturnus contra Linnaeus, 1758) รวมกลุ่มเกาะนอนเป็นจำนวนมากบนต้นสนทะเล บริเวณสวนป่า (ป่าเบญจพรรณ) ซึ่งประกอบด้วยพรรณไม้หลายชนิด ทำการสำรวจนก โดยวิธีกำหนดจุดสำรวจจำนวน 5 จุด พบนก 49 ชนิด นกที่มีระดับความชุกชุมพบมาก ได้แก่ นก กาเหว่า (Eudynamys scolopacea (Linnaeus) 1758) และนกกระจิบธรรมดา (Orthotomus sutorius (Pennant) 1769) นอกจากนี้ภายในค่ายพระรามหกมีการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์ที่หลากหลาย บางส่วนเป็นนาข้าว บางส่วนเป็นสนามกีฬาหรือสนามฝึก บางส่วนเป็นพื้นที่ป่าละเมาะรกร้างไม่มี การใช้ประโยชน์ จึงได้ทำการสำรวจนกในบริเวณดังกล่าวโดยใช้วิธีการวางจุดสำรวจจำนวน 4 จุด พบนก 49 ชนิด โดยนกที่มีระดับความชุกชุมพบมาก ได้แก่ นกแซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus (Vieillot) 1817) นกเอี้ยงหงอน (Acridotheres cinereus Blyth, 1842) เป็นต้น รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above