Page 154

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

4-20 (2.2) นกในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การสำรวจนกในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 2 ครั้ง พบนกทั้งหมด 58 ชนิด 25 วงศ์ มีสถานภาพตามสำนักนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ONEP, 2005) โดยเป็นนกที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จำนวน 3 ชนิด คือ นกขุนทอง (Gracula religiosa Linnaeus, 1758) นกออก (Haliaeetus leucogaster (Gmelin) 1788) และนกยางลายเสือ (Gorsachius melanolophus (Raffles) 1822) มีสถานภาพตามบัญชีรายชื่อของ IUCN (2007) จำนวน 8 ชนิด จัดอยู่ในสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด (LC: Least concern) ทั้งหมด ทั้งนี้ป่าเสื่อมโทรมบริเวณตีนเขา และในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภายใน ศูนย์การศึกษา การพัฒนาห้วยทราย ฯ ได้ทำการนับชนิดนกภายในเวลาที่กำหนด โดยใช้วิธีวางจุดสำรวจจำนวน 16 แปลง พบนกจำนวน 41 ชนิด นกที่มีระดับความชุกชุมพบมากจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ นกกินปลี อกเหลือง (Nectarinia jugularis (Linnaeus) 1766) นกปรอดทอง (Pycnonotus atriceps (Temminck) 1822) นกปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi Jerdon, 1862 ) นกเขาใหญ่ (Streptopelia chinensis (Scopoli) 1786) นกกระจิบธรรมดา (Orthotomus sutorius (Pennant) 1769) และนกกาเหว่า (Eudynamys scolopacea (Linnaeus) 1758) นกที่พบส่วนใหญ่เป็นนกที่ สามารถปรับตัวอาศัยอยู่ในสภาพนิเวศถูกรบกวน นอกจากนี้ยังพบนกยางลายเสือ ที่อยู่ใน สถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) ตามการจัดสถานภาพของสำนักนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ONEP, 2005) และเป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพมา ช่วงฤดูผสมพันธุ์ และนกอพยพผ่าน พบอาศัยอยู่ในป่ากระถินบริเวณเชิงเขา นอกจากนั้นบริเวณ ดังกล่าวยังพบนกอพยพหลายชนิด ใช้เป็นที่พักเกาะ เช่น เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Aviceda leuphotes (Dumont) 1820) และเหยี่ยวหน้าเทา (Butastur indicus (Gmelin) 1788) เป็นต้น เป็นที่น่า สังเกตว่าในช่วงต้นของการสำรวจพบนกกินปลีจำนวนมาก ในบริเวณสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เข้า มาหากินน้ำหวานในช่วงที่ดอกไม้ป่าบางชนิดกำลังบาน ซึ่งมีส่วนช่วยในการผสมเกสรให้กับต้นไม้ ภายในศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ประกอบด้วยภูเขาเล็กๆ กระจายตัวอยู่เป็น หย่อมๆ ได้ทำการสำรวจนกในระบบนิเวศภูเขาเพียงครั้งเดียว บนเขากระปุก-เขาทอง และภูเขา เสวยกะปิ จึงไม่สามารถนำมาหาค่าร้อยละความถี่ เพื่อประเมินหาระดับความชุกชุมได้ จากการ สำรวจพบนก 23 ชนิด เป็นนกอพยพ 8 ชนิด เช่น เหยี่ยวเคสเตล (Falco tinnunculus Linnaeus, 1758) เหยี่ยวออสเปร (Pandion haliaetus (Linnaeus) 1758) เป็นต้น รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above