Page 155

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

4-21 ภาพที่ 4.8 จำนวนชนิดนกที่สำรวจพบในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่าดัชนีความหลากหลาย (Shanon-Weiner’s Index) จากการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากหลายภายในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร พบว่าพื้นที่บริเวณป่าชายเลนมีค่าดัชนีความหลากหลายมากที่สุด คือ 3.55 สวนป่า 3.25 พื้นที่รกร้าง 2.76 และสวนสน 2.18 ตามลำดับ ดังภาพที่ 4.9 เนื่องจากพื้นที่บริเวณป่าชายเลน และสวนป่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟูด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดปะปนกันไป และมีการควบคุมการใช้ ประโยชน์จากกิจกรรมของมนุษย์ จึงมีความเหมาะสมต่อพื้นที่อาศัยและหากินของนก ส่งผลให้มี ความหลากชนิด และความสม่ำเสมอในแต่ละชนิดมากกว่าพื้นที่สวนสนที่มีการปลูกพันธุ์ไม้เพียง ชนิดเดียว และพื้นที่รกร้างที่มีการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมของมนุษย์อยู่ประจำ เช่น สนามฝึกซ้อม กระโดดร่ม ค่ายเยาวชน ฯลฯ ค่าดัชนีความหลากหลายของป่าชายเลน และสวนป่าจึงมีค่า มากกว่าพื้นที่สวนสนและพื้นที่รกร้าง


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above