Page 199

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-9 ลักษณะบรรยายของปลาบางชนิดที่พบในบริเวณที่ศึกษา 7 สถานี Stolephorus indicus (van Hasselt, 1823) กระตัก (ภาพที่ 5.1 43.8 mm SL) ลำตัวยืดยาว แบนข้างเล็กน้อย สันท้องมน ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว มีเกล็ดที่มี หนาม (scute) 3-5 แผ่นบนสันท้องหน้าครีบท้อง แต่ไม่มีเกล็ดดังกล่าวบนสันท้องระหว่างครีบท้อง และครีบก้น ปากกว้าง มุมปากเลยขอบหลังของตา แถวเกล็ดบนลำตัวในแนวระนาบมีประมาณ 40 แถว มีแถบสีเงินวิ่งกึ่งกลางของลำตัว มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มในเขต Indo-Pacific Clupeichthys goniognathus Bleeker, 1855 ซิวแก้ว (ภาพที่ 5.2 44.0 mm SL) ลำตัวยืดยาว แบนขางเล็กน้อย ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว สันท้องคมมีเกล็ดที่มีหนาม (scute) บนตลอดสันท้อง มีฟันที่มีขนาดใหญ่อยู่บนขอบขากรรไกรล่าง มุมปากไม่เลยขอบหลัง ของตา ลำตัวขาวขุ่นและมีแถบสีเงินวิ่งบริเวณกึ่งกลางของลำตัว มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำจืดและน้ำกร่อยของสุมาตราและไทย Sardinella albella (Valenciennes, 1847) หลังเขียว (ภาพที่ 5.3 26.3 mm SL) ลำตัวค่อนข้างแบนข้างและยืดยาว ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว สันท้องคมมีเกล็ดที่มี หนาม 29-33 แผ่นบนตลอดสันท้อง แถวเกล็ดบนลำตัวในแนวระนาบมีประมาณ 40 แถว มีการ กระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำเค็มและน้ำกร่อยของเขต Indo-Pacific Barbonymus altus (Günther, 1868) ตะเพียนทอง (ภาพที่ 5.4 87.3 mm SL) ลำตัวแบนข้างและลึก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว เกล็ดมีประกายสีเงิน ตาโต ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบก้น ครีบหางและบนลำตัวจะมีสีส้ม มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของ เขตอินโดจีน Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1850) ตะเพียนขาว (ภาพที่ 5.5 76.7 mm SL) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above