Page 200

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-10 ลำตัวแบนข้างและยืดยาวเล็กน้อย ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว เกล็ดเป็นประกายสีเงิน ครึ่งหลังเป็นสีเทาอ่อน ครีบท้องและก้นเป็นสีเหลืองอ่อน มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Barbonymus schwanefeldi (Bleeker, 1853) กระแห (ภาพที่ 5.6 53.8 mm SL) ลำตัวแบนข้างและลึก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว เกล็ดมีประกายเป็นสีเงิน ตาโต ครีบ หลังมีสีแดงและปลายมีสีดำ ขอบบนและล่างของครีบหางมีสีแดงหรือขาวและตามด้วยแถบสีดำที่ อยู่ถัดมาด้านใน มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Cirrhinus cirrhosus (Bloch, 1795) นวลจันทร์เทศ (ภาพที่ 5.7 83.7 mm SL) ลำตัวยืดยาวและแบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว มีเกล็ดบนเส้นข้างตัว 39-46 แผ่น มีก้านครีบที่แตกแขนงบนครีบหลัง 12-15 ก้าน ปากค่อนข้างเล็ก มีการกระจายพันธุ์ กว้างในเขตน้ำจืดของอนุทวีปอินเดีย ปัจจุบันมีการนำมาเลี้ยงอย่างกว้างขวางในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เพื่อบริโภคและบางส่วนถูกปล่อยหรือหลุดลงไปในธรรมชาติ Cyclocheilichthys repasson (Bleeker, 1853) ไส้ตัน (ภาพที่ 5.8 77.5 mm SL) ลำตัวแบนข้าง จะงอยปากค่อนข้างแหลมเมื่อดูจากด้านข้าง ครีบหลังอยู่บริเวณกึ่งกลาง ของลำตัว ส่วนหัวมีแนวเส้นสัมผัส (sensory line) อยู่เป็นจำนวนมาก มีจุดสีดำขนาดเล็กเรียงเป็น แถวตามแนวนอนด้านข้างลำตัว และมีจุดสีดำขนาดใหญ่ที่คอดหาง (ชัดเจนในตัวอย่างที่ตรึงด้วย น้ำยาฟอร์มาลีน (10%) มีเกล็ดรอบคอดหาง 20 แผ่น มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Esomus metallicus Ahl, 1923 ซิวหนวดยาว (ภาพที่ 5.9 57.6 mm SL) ลำตัวยืดยาวและค่อนข้างแบนข้าง ครีบหลังและครีบก้นอยู่ช่วงท้ายของลำตัว ครีบอกมี ขนาดใหญ่ มีหนวดที่มุมปากยืดยาวจรดครีบท้อง มีแถบดำวิ่งบริเวณกึ่งกลางของลำตัว มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของอินโดจีน รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above