Page 205

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-15 Zenarchopterus cf. buffonis เข็ม (ภาพที่ 5.28 79.5 mm SL) ลักษณะโดยรวมคล้าย Zenarchopterus dunckeri แต่ไม่มีลักษณะของก้านครีบก้นที่ยืด ยาวออกมา มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มของอินเดีย ถึงออสเตรเลีย Strongylura strongylura (van Hasselt, 1823) กะทุงควาย (ภาพที่ 5.29 158.4 mm SL) ลำตัวเรียวยาวเป็นทรงกระบอก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ส่วนท้ายของลำตัว จุดเริ่มต้นของ ครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ปากยืดยาวคล้ายปากจระเข้ มีฟันที่แหลมคม มีจุดดำบน กลางครีบหาง อาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็ม ทั่วชายฝั่งของประเทศไทย และ Indo-Pacific Xenentodon cancila (Hamilton, 1822) กระทุงเหว (ภาพที่ 5.30 145.3 mm SL) ลำตัวเรียวยาวเป็นทรงกระบอก ขากรรไกรบนและล่างยืดยาวคล้ายปากจระเข้และมีฟันที่ พัฒนาดี ครีบหลังและครีบก้นอยู่ช่วงท้ายของลำตัวและมีจุดเริ่มต้นตรงกันในแนวดิ่ง มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดในอนุทวีปอินเดียและเขตอินโดจีน Gambusia affinis (Baird & Girard, 1853) กินยุง (ภาพที่ 5.31 17.3 mm SL) ลำตัวยืดยาว ด้านหลังมีสีเทาอมน้ำตาล ครีบหลังอยู่ค่อนข้างไปทางด้านท้ายของลำตัว มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำจืดของลุ่มน้ำ Mississippi ไปจนถึงตอนเหนือของประเทศ Mexico แต่มีการนำไปปล่อยเพื่อกำจัดตัวอ่อนของยุง (ลูกน้ำ) ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ในเขต ร้อนทั่วโลก ปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วประเทศไทย Mastacembelus favus Hora, 1924 กระทิง (ภาพที่ 5.32 33.3 mm SL) ลำตัวยืดยาวคล้ายงูและแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากบนยืดยาวไปข้างหน้าคล้ายงวงช้าง มีก้านครีบแข็ง (spine) ที่มีปลายที่แหลมคมเป็นจำนวนมาก มีลายเป็นลักษณะร่างแหทั่วลำตัว มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของอินโดจีน รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above