5-14 Oryzias latipes (Temminck & Schlegel, 1846) ซิวข้าวสาร (ภาพที่ 5.23 14.75 mm SL) ลำตัวค่อนข้างยืดยาวและแบนข้าง (ใสเมื่อยังมีชีวิตอยู่) ตาโต ปากเล็ก ครีบหลังอยู่ช่วง ท้ายของลำตัว ฐานครีบก้นยาวกว่าฐานครีบหลังมาก มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Oryzias javanicus (Bleeker, 1854) ซิวข้าวสาร (ภาพที่ 5.24 28.2 mm SL) ลำตัวลึกและแบนข้าง (ใสแบบขาวขุ่นเมื่อยังมีชีวิตอยู่) ตาโต ปากเล็ก ครีบหลังอยู่ช่วง ท้ายของลำตัว ฐานครีบก้นยาวกว่าฐานครีบหลังมาก ครีบหางมีสีเหลือง มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Dermogenys siamensis Fowler, 1934 เข็ม (ภาพที่ 5.25 46.6 mm SL) ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอก ขากรรไกรล่างยื่นยาวไปข้างหน้ามากกว่าขา กรรไกรบน มาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ช่วงท้ายของลำตัว ฐานครีบหลังสั้นกว่าฐานครีบก้นมาก มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของอินโดจีน Hyporhamphus limbatus (Valenciennes, 1847) ตับเต่า (ภาพที่ 5.26 98.7 mm SL) ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอก ขากรรไกรล่างยื่นไปข้างหน้ามากกว่าขากรรไกรบนมาก ฐานครีบหลังยาวพอๆ กับฐานครีบก้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำกร่อยและเขตน้ำเค็มตั้งแต่อ่าว Persia ไปจนถึงจีน Zenarchopterus dunckeri Mohr, 1926 เข็ม (ภาพที่ 5.27 122.2 mm SL) ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอกขากรรไกรล่างยื่นไปข้างหน้ามากกว่าขากรรไกรบนมาก (ยาวกว่า Hyperamphus และ Dermogenys) ไม่มีฟันบนส่วนหน้าของขากรรไกรบน ก้านครีบก้น ก้านที่ 6 มีลักษณะยืดยาวออกมาอย่างชัดเจน มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มของทะเลอันดามันและ West Pacific รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above