Page 207

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-17 Leiognathus decorus (De Vis, 1884) แป้นจมูกสั้น (ภาพที่ 5.39 50.4 mm SL) ลำตัวลึกและแบนข้างมีประกายสีเงินขาว ปากสามารถยื่นลงไปด้านล่างได้ มีจุดดำขนาด ใหญ่บริเวณจะงอยปากและยอดหัว หางเว้าลึก มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มของ Indo-West Pacific Leiognathus equulus (Forsskål, 1775) แป้นยักษ์ (ภาพที่ 5.40 84.4 mm SL) ลำตัวลึกและแบนข้างมาก จะงอยปากสามารถยืดลงด้านล่างได้ มุมปากอยู่ต่ำกว่าขอบ ตา ริมฝีปากบนสั้นยาวไม่ถึงขอบหน้าตา ไม่มีลักษณะของฟันเขี้ยว ฟันมีขนาดเล็กบาง หางแบบ เว้าลึก มีการกระจายพันธุ์กว้าง จากมหาสมุทรอินเดีย ไปถึงแอฟริกาชายฝั่งตะวันออก รวมทั้ง ทะเลแดง อาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อย และน้ำเค็ม Secutor ruconius (Hamilton, 1822) แป้น (ภาพที่ 5.41 34.5 mm SL) ลำตัวกลมลึกและแบนข้างมาก จะงอยปากสามารถยืดขึ้นด้านบนได้ ริมฝีปากมีลักษณะ ตั้งฉากกับแนวระนาบเมื่อปิดปาก มีเกล็ดที่กระพุ้งแก้ม ครีบหลัง และครีบก้นยาว และมีก้านครีบ แข็ง หางแบบเว้าลึก มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขต Indo-Pacific อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำ และตามแนว ชายฝั่ง Lutjanus argentimaculatus (Forskal, 1775) กระพงแดงปากแม่น้ำ (ภาพที่ 5.42 128.2 mm SL) ลำตัวแบนข้าง ฐานครีบหลังยาว มีเกล็ดที่บริเวณกระพุ้งแก้ม แต่ไม่มีเกล็ดระหว่างใต้ตา ถึงริมฝีปาก ริมฝีปากบนยาวถึงขอบหน้าตา ครีบหางเว้าเล็กน้อย ไม่มีจุดดำบริเวณด้านบนของ ลำตัว และไม่มีแถบลวดลายด้านบนของลำตัว ในขณะมีชีวิตลำตัวจะมีสีแดงคล้ำ มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขต Indo-Pacific อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำ และตามแนว ชายฝั่ง รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above