5-18 Lutjanus johni (Bloch, 1792) กระพง (ภาพที่ 5.43 102.5 mm SL) ลำตัวแบนข้าง ฐานครีบหลังยาว มีเกล็ดที่บริเวณกระพุ้งแก้ม แต่ไม่มีเกล็ดระหว่างใต้ตา ถึงริมฝีปาก ริมฝีปากบนยาวถึงขอบหน้าตา ครีบหางเว้าเล็กน้อย มีจุดดำชัดเจนบริเวณด้านข้าง ลำตัวตอนบน และไม่มีแถบลวดลายบริเวณด้านข้างลำตัว มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขต Indo-Pacific อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำ และตามแนว ชายฝั่ง Lutjanus russellii (Bleeker, 1849) กระพงข้างปาน (ภาพที่ 5.44 48.8 mm SL ; ภาพที่ 5.45 18.0 mm SL; ภาพที่ 5.46 45.1mm SL) ลำตัวแบนข้าง ฐานครีบหลังยาว มีเกล็ดที่บริเวณกระพุ้งแก้ม แต่ไม่มีเกล็ดระหว่างใต้ตา ถึงริมฝีปาก ริมฝีปากบนยาวถึงขอบหน้าตา ครีบหางเว้าเล็กน้อย มีจุดดำชัดเจนบริเวณด้านข้าง ลำตัวตอนบน และมีแถบยาวตลอดลำตัว 7-8 แถบบริเวณด้านข้างลำตัว (ในบางตัวอย่างที่เป็นตัว โตเต็มวัยไม่ชัดเจนแต่ชัดเจนในระยะลูกปลา) มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขต Indo-Pacific อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำ และตามแนว ชายฝั่ง Pristolepis fasciatus (Bleeker, 1851) หมอช้างเหยียบ (ภาพที่ 5.47 91.2 mm SL) ลำตัวลึกและแบนข้าง หางกลมมน เส้นข้างลำตัวมีลักษณะไม่ต่อเนื่อง ครีบหลังยาว และ มีก้านครีบแข็ง ครีบก้นมีลักษณะของหนามแหลมขนาดใหญ่ 3 ก้าน ริมฝีปากบนยาวถึงบริเวณ ขอบหน้าของตา มีหนามแหลม 2 ก้าน บริเวณด้านบนแผ่นกระดูกปิดเหงือก มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีนตั้งแต่ เมียน มาร์ ถึงอินโดนีเซีย Gerres erythrourus (Bloch, 1791) ดอกหมาก (ภาพที่ 5.48 58.7 mm SL) ลำตัวกลมลึกและแบนข้าง ครีบหางแบบเว้าลึก ครีบหลังยาว และมีก้านครีบแข็ง และมี เยื่อบางๆหุ้มบริเวณโคนของครีบหลัง เกล็ดด้านบนของหัวมีขนาดใหญ่ จะงอยปากยืดหดได้ ครีบ อกยาวเกือบสุดบริเวณฐานครีบก้น รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above