5-23 ลำตัวกว้างและแบนข้างมาก ปากเล็ก ฐานครีบหลังอยู่ค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัว ฐาน ครีบก้นยาว ครีบท้องยืดยาวเป็นเส้น มีจุดดำที่กลางลำตัวและฐานครีบหาง มีอวัยวะช่วยหายใจ บริเวณเหงือก มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำจืดทั่วประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Trichopsis pumila (Arnold, 1936) กริมสี (ภาพที่ 5.69 30.0 mm SL) ลำตัวแบนข้าง หัวแหลม ฐานครีบก้นยาว ปลายครีบท้องยืดยาวเป็นเส้น มีแถบดำวิ่งบน ลำตัว 2 เส้น แต่ไม่มีแถบดำวิ่งใต้ตาบนหัว มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่บริเวณเหงือก มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Trichopsis vittatus (Cuvier, 1831) กริมควาย (ภาพที่ 5.70 23.3 mm SL) ลำตัวแบนข้าง หัวแหลม ฐานครีบก้นยาว ปลายครีบ ปลายครีบท้องยืดยาวเป็นเส้น มี แถบดำวิ่งบนลำตัว 2 เสน้หรือมากกวา่ และมีแถบดำวิ่งใต้ตาบนหัว 1 เส้น สว่นใหญ่จะมีจุดดำ บริเวณหลังฝาเหงือก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่บริเวณเหงือก มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Channa striata (Bloch, 1793) ช่อน (ภาพที่ 5.71 22.5 mm SL) ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอก หัวแบนลงในแนวดิ่ง ฐานครีบหลังครีบก้นยาว ปากใหญ่มี ฟันที่พัมนาดี มีแถบดำเส้นเล็กวิ่งเฉียงทั้งส่วนบนและส่วนล่างของลำตัว หรือมีลายตามขวางที่มี รูปทรงหลากหลาย มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่บริเวณเหงือก ในวัยอ่อนจะมีแถบสีส้ม (สีขาวในตัวอย่างที่ตรึงในน้ำยาฟอร์มาลีน) บนลำตัวในแนว ระนาบดังที่เห็นในภาพถ่าย มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำจืดทั่วเอเชียเขตร้อน รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above