5-22 Scatophagus argus (Linnaeus, 1766) ตะกรับ (ภาพที่ 5.64 34.8 mm SL) ลำตัวลึกและแบนข้าง ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบที่พัฒนาดี ปากเล็ก มีจุดกลมดำ กระจายบนลำตัวและครีบ อาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มทั่วชายฝั่งของประเทศไทยและ Indo-Pacific Siganus javus (Linnaeus, 1766) สลิดหินแถบ (ภาพที่ 5.65 74.1 mm SL) ลำตัวกลมลึก ฐานครีบหลัง และครีบก้นยาว และมีก้านครีบแข็งที่มีต่อมพิษเป็นจำนวน มาก ถ้าถูกแทงจะเจ็บปวดมาก ฟันที่ขากรรไกรมีลักษณะเป็นฟันสิ่ว มีหนามแหลมที่บริเวณโคน ครีบหลังชี้ไปด้านหน้า หางเว้าเล็กน้อย ลำตัวด้านบนมีลักษณะเป็นลายจุด และด้านท้องมี ลักษณะเป็นแถบยาว มีการแพร่กระจายพันธุ์ในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย ไปจนถึงคาบสมุทร Indo-Malayan Sphyraena jello Cuvier, 1829 สาก (ภาพที่ 5.66 119.1 mm SL) ลำตัวเรียวยาวเป็นทรงกระบอก ครีบหลังสั้นแยกกันสองตอนชัดเจน หางแบบเว้าลึก มี ลายขวางด้านบนของลำตัวเหนือเส้นข้างลำตัว จุดกำเนิดของครีบหลังอันที่สอง อยู่หน้าจุดกำเนิด ของครีบก้น ฟันมีลักษณะเป็นฟันเขี้ยว มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มในเขตร้อน และเขตอบอุ่นของ Indo-Pacific Trichogaster pectoralis (Regan, 1910) สลิด (ภาพที่ 5.67 50.8 mm SL) ลำตัวลึกและแบนข้างปากเล็ก ฐานครีบก้นยาว ครีบท้องยืดเป็นเส้นจรดครีบหาง ลำตัวมี แถบน้ำตาลอมเทาวิ่งเฉียงหลายแถบ มีแถบดำขาดตอนวิ่งกึ่งกลาง มีจุดดำบริเวณคอดหาง มี อวัยวะช่วยหายใจอยู่ด้านในของส่วนหัว มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของเขตอินโดจีน Trichogaster trichopterus (Pallas, 1770) กระดี่หม้อ (ภาพที่ 5.68 50.0 mm SL) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above