2-2 การสำรวจสังคมพืช ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจำแนกระบบนิเวศป่าไม้ จากข้อมูลการแปลแผนที่ภาพถ่าย ดาวเทียม (LANDSAT TM) ในปี 2543 เพื่อทราบถึงชนิดและการจัดจำแนกสังคมพืชในแต่ละ ระบบนิเวศ จากนั้นทำการคัดเลือกพื้นที่ในทุกระบบนิเวศป่าไม้ เพื่อเป็นพื้นที่ศึกษาสำหรับการ สำรวจข้อมูลโครงสร้างและองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ในป่าแต่ละประเภท และนำข้อมูลดังกล่าวที่ ได้รับมาช่วยในการสนับสนุนการแปลตีความหมายภาพถ่ายจากดาวเทียม ด้วยวิธีการวางแปลง ตัวอย่างชั่วคราว (temporary plot) โดยใช้แปลงขนาด 20 เมตร x 50 เมตร จำนวน 3-5 แปลงต่อ ป่าแต่ละชนิดในพื้นที่ โดยทำการพิจารณาจากการสุ่มสำรวจ (random sampling) ตามความ เหมาะสม (โดยเลือกวางแปลงตัวอย่างในพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางความสูงจากระดับน้ำทะเล 3 ระดับ ในแต่ละชนิดป่า คือ ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุด ปานกลาง และสูงที่สุดของพื้นที่) พร้อมทำการจับตำแหน่งพิกัดตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแปลงตัวอย่างด้วยเครื่องมือ GPS ดังมีรายละเอียดการศึกษาดังนี้ (1) วางแปลงขนาด 20 เมตร x 50 เมตร ตามลักษณะภูมิประเทศ ชนิดป่าละ 3-5 แปลง ตัวอย่าง จากนั้นแบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 10 เมตร x 10 เมตร 4 เมตร x 4 เมตร และ 1 เมตร x 1 เมตร จำนวนอย่างละ 10 แปลง เพื่อทำการเก็บข้อมูลด้านองค์ประกอบของชนิดพันธุ์พืช ขนาด ความโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 1.30 เมตร (Diameter at Breast Height, DBH) และความ สูง (height) ในแปลงตัวอย่าง โดยจำแนกข้อมูลไม้ออกเป็น 3 ขนาด คือ ไม้ใหญ่ (tree) คือไม้ที่มี DBH > 4.5 cm ไม้หนุ่ม (sapling) คือ ไม้ที่มี DBH < 4.5 cm สูง > 1.3 m และ กล้าไม้ (seedling) คือ ไม้ที่มีความสูงน้อยกว่า 1.30 เมตร ซึ่งทำการเก็บข้อมูลไม้ใหญ่ ไม้วัยรุ่น และกล้า ไม้ ในแปลงขนาด 10 เมตร x 10 เมตร 4 เมตร x 4 เมตร และ 1 เมตร x 1 เมตร ตามลำดับ (ภาพ ที่ 1) ทำการจำแนกชนิดพรรณไม้พันธุ์ไม้ทั้งหมดที่พบในแปลงตัวอย่าง (ตารางผนวกที่ 1 และ 2) พรรณไม้ที่ไม่สามารถทำการจำแนกได้ในภาคสนามจะใช้วิธีเก็บตัวอย่าง (specimens) จำนวน ชนิดละ 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาทำการจำแนกและเปรียบเทียบกับชนิดพันธุ์ไม้ ในหอพรรณไม้ ของ กรมป่าไม้ต่อไป รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above