Page 24

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-3 10 เมตร  4 เมตร  4 เมตร  1 ม  1 ม   50 เมตร 20 เมตร ภาพที่ 2.1 แสดงลักษณะของแปลงตัวอย่างเก็บข้อมูล (ขนาด 20 เมตร x 50 เมตร) 10 เมตร  รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร (2) เก็บข้อมูลโครงสร้างสังคมพืช ด้วยการจำแนกชั้นทางด้านตั้ง (profile diagram) และการปกคลุมของเรือนยอด (crown cover diagram) ด้วยการสุ่มเลือกพื้นที่แปลงตัวอย่าง ขนาด 10 เมตร x 50 เมตร ที่เป็นตัวแทนที่ดีภายในสังคมพืชแต่ละชนิด (3) ทำการถ่ายภาพเรือนยอด (hemispherical photos) ด้วยเลนส์ตาปลา (Fish eye lens) (Nikon F 2.8) เพื่อทำการวิเคราะห์หาปริมาณแสงส่องสว่างผ่านเรือนยอด (Standard Sky Overcast, SOC %) และค่าดัชนีพื้นที่ผิวใบ (Leaf Area Index, LAI) ของตัวแทนป่าแต่ละ ระบบนิเวศ (4) ข้อมูลปัจจัยแวดล้อมพื้นฐานในพื้นที่ศึกษา เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเล (elevation) ความลาดเท (slope) ทิศทางด้านลาด (aspect) ของแต่ละแปลงตัวอย่าง ด้วยการ ใช้เครื่องมือ GPS เป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจวัด ทำการจดค่าที่ได้รับนี้ เพื่อนำไปใช้ใน การศึกษาความสัมพันธ์ของการกระจายของสังคมพืชกับปัจจัยแวดล้อม รวมถึงทำการเก็บ ตัวอย่างดินชั้นบน (0-15 cm) ในพื้นที่ป่าธรรมชาติแต่ละชนิด โดยใช้ที่เก็บตัวอย่างดิน (soil sample) ขนาด 100 cc สมบัติด้านกายภาพของดิน เช่น โครงสร้างของดิน (soil texture) ความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density) การซึมผ่านของดิน (permeability) ความเป็นกรด- ด่าง (soil pH) ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (total nitrogen) ปริมาณคาร์บอนทั้งหมด (total carbon) อัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ฯลฯ จะถูกทำการวิเคราะห์ ภายในห้องปฏิบัติการ


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above