Page 238

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-48 ความหลากหลายของชนิดสาหร่าย-ยึดเกาะ (benthic algae) แพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) และพรรณไม้น้ำ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร การสำรวจความหลากหลายของชนิดสาหร่ายยึดเกาะ แพลงก์ตอนพืชและพรรณไม้น้ำ ใน ครั้งนี้ ดำเนินการโดยทีมงานของรองศาสตราจารย์ ดร. อนงค์ จีรภัทร์ และนิสิตปริญญาโท ห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายและพรรณไม้น้ำ ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังต่อไปนี้ ในการสำรวจครั้งนี้ กำหนดเก็บตัวอย่างระหว่างช่วงปลายฤดูฝน ในวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2550 ช่วงฤดูแล้งในวันที่ 16 – 17 มกราคม 2551 และช่วงต้นฤดูฝน ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 และ 9 พฤษภาคม 2551 พื้นที่สำรวจในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำหนดจุดสำรวจเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) พื้นที่สำรวจในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กำหนดพื้นที่สำรวจ โดยแบ่งจุดเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลและแพลงก์ตอนพืชทะเลใน บริเวณชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน รวม 10 จุด และบริเวณคลองย่อยในเขตค่ายการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร รวม 2 จุด รวมจุดเก็บดัวอย่าง 12 จุด แต่ละจุดเก็บตัวอย่างมีลักษณะสภาพโดยทั่วไปดังนี้ จุดสำรวจที่ 1 บริวณคลองสาขาในป่าชายเลน จุดพิกัดตำแหน่งที่ N12°42′18.4″ E 99°57′49.9″ พื้นดินในคลองมีลักษณะเป็นทรายปนเลน ดินมีสีดำ น้ำขุ่นเล็กน้อย เป็นแหล่งน้ำไหล คลอง ดังกล่าวจะไปสิ้นสุดบริเวณจุดรับน้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล พบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบริเวณผิวหน้าดิน


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above