Page 239

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-49 รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จุดสำรวจที่ 2 บริเวณคลองสาขาในป่าชายเลน จุดพิกัดตำแหน่งที่ N12°42′15.4″ E 99°57′47.1″ พื้นดินในคลองสาขา มีลักษณะเป็นทราย น้ำใส เป็นแหล่งน้ำไหล เชื่อมต่อกับคลองสาขา อื่นๆ ในป่าชายเลน พบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบริเวณผิวหน้าดิน จุดสำรวจที่ 3 บริเวณคลองสาขาในป่าชายเลน ใกล้สะพานแขวน จุดพิกัดตำแหน่งที่ N12°42′12.7″ E 99°57′45.7″ พื้นดินในคลองสาขา มีลักษณะเป็นทรายปนเลน ดินมีสีดำ น้ำขุ่นเล็กน้อย เป็นแหล่งน้ำ ไหลคลองดังกล่าวจะไปสิ้นสุดบริเวณ จุดรับน้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล พบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน บริเวณ ผิวหน้าดินและสาหร่ายสีเขียวที่มีลักษณะเป็นเส้นสาย จุดสำรวจที่ 4 คลองเชื่อมต่อกับทะเลบริเวณจุดรับน้ำที่ 1 ใต้สะพานพระราม๖ (๓) จุดพิกัดตำแหน่งที่ N12°42′22.4″ E 99°57′50.4″ พื้นดินในคลอง มีลักษณะเป็นดินทราย น้ำเป็นสีเขียว เป็นแหล่งน้ำไหล คลองดังกล่าว เชื่อมต่อกับทะเล จุดสำรวจที่ 5 จุดรับน้ำที่ 1 จากคลองสาขาในป่าชายเลน พื้นดินมีลักษณะเป็นทรายปนเลน ดินมีสีดำ น้ำทะเลมีสีเขียวแต่ไม่เข้มมาก เป็นแหล่งน้ำ ไหล ในบริเวณนี้มีต้นโกงกางปลูกใหม่จำนวนมาก จุดสำรวจที่ 6 คลองที่เชื่อมต่อกับทะเลบริเวณจุดรับน้ำที่ 2 จุดพิกัดตำแหน่งที่ N 120 41’ 10.2’’ E 990 57’ 45.2’’ พื้นดินมีลักษณะเป็นทรายปนเลน น้ำขุ่น เป็นแหล่งน้ำไหล เชื่อมต่อกับคลองที่ติดกับทะเล จุดสำรวจที่ 7 คลองสาขาที่เชื่อมต่อกับจุดรับน้ำ 2 พื้นดินมีลักษณะเป็นทรายปนเลนเล็กน้อย น้ำใส พบสาหร่ายสีเขียวที่มีลักษณะเป็นเส้น สาย Ulva และสาหร่ายสีแดงสกุล Gracilaria


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above