5-50 จุดสำรวจที่ 8 คลองสาขาที่เชื่อมต่อกับ จุดสำรวจที่ 7 พื้นดินมีลักษณะเป็นดินปนทราย น้ำมีสีค่อนข้างเขียว เป็นแหล่งน้ำไหล จุดสำรวจที่ 9 บริเวณปากคลองที่ติดต่อกับทะเล พื้นดินเป็นดินทราย น้ำมีสีเขียวเข้ม ขณะทำการสำรวจน้ำทะเลกำลังขึ้น สามารถมองเห็น สาหร่ายขนาดเล็กในมวลน้ำที่เก็บได้อย่างชัดเจน จุดสำรวจที่ 10 บริเวณใต้สะพานกรมโยธาธิการ พ.ศ. 2544 จุดพิกัดที่ N12°42′22.8″ E 99°57′36.2″ พื้นดินเป็นดินทรายปนเลนเล็กน้อย เป็นแหล่งน้ำไหล จุดสำรวจที่ 11 คลองบริเวณสะพานหน้าค่ายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จุดพิกัดที่ N12°41′38.1″ E 99°57′32.0″ เป็นคลองน้ำไหล มีพรรณไม้น้ำหลายชนิด โดยพบกลุ่มของผักตบชวา เป็นกลุ่มหลัก และ ยังพบจอก ธูปฤาษี ผักบุ้งไทย จาก และไมยราพ จุดสำรวจที่ 12 คลองบริเวณท่าเทียบเรือหน้าบ้านพักในค่ายการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม จุดพิกัดที่ N12°41′32.0″ E 99°57′29.5″ เป็นคลองน้ำไหล มีพรรณไม้น้ำหลายชนิด โดยพบกลุ่มของผักตบชวาเป็นกลุ่มหลัก และ ยังพบ แพงพวยน้ำ จอก แหนเป็ดเล็ก และแหนแดง (2) พื้นที่สำรวจในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ เก็บตัวอย่างสาหร่ายยึดเกาะ แพลงก์ตอนพืชน้ำจืดและพรรณไม้น้ำ โดยกำหนดจุดสำรวจ และเก็บตัวอย่าง 4 จุด ซึ่งเป็นจุดเดียวกับจุดสำรวจปลาและสัตว์พื้นท้องน้ำ แต่ละจุดเก็บตัวอย่าง มีลักษณะสภาพโดยทั่วไปดังนี้ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above