5-54 ใหญ่ จุดสำรวจที่ 4 ลำห้วยตะแปด นั้น จุดสำรวจที่พบความหลากหลายของพรรณไม้น้ำมากที่สุด ได้แก่ จุดสำรวจที่ 3 โดยพบชนิดพรรณไม้น้ำ 9 ชนิด รองลงมาคือจุดสำรวจที่ 4 พบ 6 ชนิด บริเวณ ที่พบชนิดพรรณไม้น้ำน้อยที่สุดได้แก่จุดสำรวจที่ 1 พบ 2 ชนิด อย่างไรก็ตามในการสำรวจช่วงฤดู แล้ง วันที่ 16 – 17 มกราคม 2551 และต้นฤดูฝน วันที่ 9 พฤษภาคม 2551 นั้น พบว่า ชนิดและการ แพร่กระจายของพรรณไม้น้ำในบริเวณจุดสำรวจที่ 3 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เนื่องจากช่วง ดังกล่าวน้ำในหนองห้วยใหญ่มีระดับลดลงและมีร่องรอยของการแผ้วถางพื้นที่ และพรรณไม้ใน บริเวณนี้โดยรอบ (ภาพที่ 5.87) พรรณไม้น้ำที่พบได้แก่บัวสาย และผักบุ้ง เป็นต้น (ภาพที่ 5.88) ลักษณะบรรยายสาหร่ายทะเลบางชนิดที่พบในบริเวณป่าชายเลน อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร (ภาพที่ 5.78) 1. Gracilaria tenuistipitata Chang et Xia var. liui Chang et Xia สาหร่ายผมนาง ทัลลัสเป็นเส้นกลมผอมบาง สูงประมาณ 10 เซนติเมตร แตกแขนงจากแกนกลางจำนวน แขนงอาจ มีลักษณะหงิกงอ บนแขนงมีแขนงย่อยเล็กๆ จำนวนมาก ซิสโตคาร์ปลักษณะรูประฆังคว่ำ มีจงอย ยาว ฐานคอดเว้า 2. Ulva clathrata (Enteromorpha clathrata) สาหร่ายไส้ไก่ ทัลลัสเป็นหลอดกลวง ผอม สีเขียว มีรากเล็กๆ ยึดเกาะ แตกแขนงยาวบริเวณส่วนล่างของทัลลัส แต่จะมีแขนงเล็กๆ สั้นๆ เกิดตลอดทัลลัส ลักษณะบรรยายไดอะตอมบางชนิดที่พบในแหล่งน้ำบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร (ภาพที่ 5.79) 1. Odontella mobiliensis (Bailey) Grunow เซลล์อยู่เดี่ยวๆ ผนังเซลล์บาง กลางฝาแบนราบหรือเว้าเล็กน้อย ก้านลาบิเอทอยู่ห่างจากมุมฝาซึ่ง ยกสูงเห็นชัดเจน ก้านลาบิเอทและมุมฝากางออก 2. Gyrosigma balticum (Ehrenberg) Cleve เซลล์รูปรี ขอบเซลล์ขนานกับบริเวณกึ่งกลาง ปลายเซลล์ทั้งสองจะโค้งแบบตัว “S” ปลายสุดของ เซลล์มน polar nodules เล็ก axial area แคบ ราฟีโค้งเปนรูปตัว “S” โดยราฟีจะโค้งในแนว รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above