5-55 เดียวกับขอบของเซลล์ โดยเฉพาะบริเวณปลายเซลล์ central area เล็กเป็นรูปไข่ เส้นพาดขวาง เซลล์และเส้นพาดตามยาวเห็นชัดเจน และตัดกันเป็นระยะเท่ากัน 3. Acnanthes sp. ลักษณะเซลล์มักเรียงต่อกันเป็นเส้นสั้นๆ หรืออยู่เดี่ยวๆ เมื่อมองจากด้านเกิเดิลเซลล์จะงอหรือโค้ง มี ฝาบนและล่างที่ไม่เหมือนกัน ฝาบน (epitheca) นูน และมีราฟีเทียมที่แคบ ส่วนฝาล่าง (hypotheca) เว้าและมีราฟีจริง ซึ่งมีแต่ปุ่มกลาง (central nodule) แต่ไม่มีปุ่มบนขั้วบริเวณปลาย ราฟี ลวดลายบนฝาชัดเจน 4. Diploneis interrupta (Kützing) Cleve เซลล์รูปรีมีรอยคอดลึกที่บริเวณกลางเซลล์ ปลายเซลล์กลมมน central area ใส จนถึงขอบเซลล์ ดู คล้ายรูปไข่ และยื่นยาวออกไปที่ปลายเซลล์ ดูคล้ายเขา ซึ่งมีจุดเล็กๆ เรียงเป็นแถวทั้งสองด้าน ลวดลายบนฝาเป็นซี่ใส เรียงกันในแนวรัศมี ขอบเซลล์ทั้งสองด้านมีเส้นพาดตามยาว 1 เส้น ขนาน กับขอบเซลล์ พบในน้ำเค็ม 5. Coscinodiscus asteromphalus Ehrenberg เซลล์ขนาดใหญ่ ฦาโค้งนูน ลวดลายบนฝาเป็นรูปหลายเหลี่ยม บริเวณกลางฝาเป็น rosette ล้อมรอบส่วนใสๆ รอบจุดศูนย์กลางของฝา ขนาดของ areolae รอบๆ ลายรูปดาว (rosette) เล็ก และขนาดค่อยๆใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ขนาดของ areolae จะค่อยๆลดลงบริเวณจุดกึ่งกลางและขอบ ฝา ลวดลายบนฝาหลายแบบ มีรูขนาดต่างๆกันเรียงสลับกับลายรูปหลายเหลี่ยม ลักษณะบรรยายไดโนแฟลกเจลเลตบางชนิดที่พบในแหล่งน้ำบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร (ภาพที่ 5.80) 1. Protoperidinium ลักษณะเซลล์มีผนังหุ้ม (armored form) เซลล์ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มี apical และ antapical horn ตำแหน่งซิงกูลัมอยู่กลางเซลล์ cingular plate มี 3 แผ่น พบในน้ำเค็ม 2. Peridinium รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above