Page 26

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-5 การวิเคราะห์ข้อมูล (1) ทำบัญชีรายชื่อพรรณไม้ (Species lists) ที่สำรวจพบในแต่ละชนิดป่าพร้อมทั้งค่า ดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ในพื้นที่ (Importance value index, IVI) โดยใช้การวิเคราะห์ดังนี้ (1.1) ความหนาแน่น (Density, D) คือ จำนวนต้นไม้ทั้งหมดของชนิดพันธุ์ที่กำหนดที่ ปรากฏในแปลตัวอย่างต่อหน่วยพื้นที่ที่ทำการสำรวจ D = จำนวนต้นทั้งหมดของชนิดพันธุ์ไม้ที่กำหนดที่ปรากฏในตัวอย่าง หน่วยพื้นที่ทั้งหมดของแปลงตัวอย่างที่สำรวจ (1.2) ความถี่ (Frequency, F) หมายถึง อัตราร้อยละของจำนวนแปลงตัวอย่างที่ปรากฏ พันธุ์ไม้ชนิดนั้นต่อจำนวนแปลงที่ทำการสำรวจ F = จำนวนแปลงตัวอย่างที่ชนิดไม้ปรากฏ x 100 จำนวนแปลงตัวอย่างทั้งหมดที่สำรวจ (1.3) ความเด่น (Dominance, Do) ใช้ความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัด (Basal Area, BA) ของ ต้นไม้ที่ได้จากการวัดที่ระดับความสูง 1.30 เมตร ต่อพื้นที่ที่ทำการสำรวจทั้งหมด Do = พื้นที่หน้าตัดของต้นไม้ พื้นที่สำรวจทั้งหมด (1.4) ความถี่สัมพัทธ์ (Relative frequency, RF) คือ สัดส่วนของความถี่ของชนิดไม้ที่ ต้องการต่อค่าความถี่ทั้งหมดของไม้ทุกชนิดในสังคม RFA = ความถี่ของพันธุ์ไม้ A x 100 ความถี่ทั้งหมดของต้นไม้ทุกชนิดในสังคม รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above