Page 30

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-9 (ecosystem structure) และส่วนที่เป็นหน้าที่หรือ กิจกรรมของระบบนิเวศ (ecosystem functions) ในสถานการณ์ปัจจุบันระบบนิเวศป่าชายเลนเกือบทุกแห่งในโลกได้ถูกรบกวนจาก มนุษย์ จนทำให้ระบบนิเวศมีสภาพเสื่อมโทรมอย่างเห็นได้ชัดเจน การทำลายระบบนิเวศป่าชาย เลนค่อนข้างสูงในประเทศแถบร้อนเอเชียมากกว่าในประเทศแถบร้อนละตินอเมริกาและอัฟริกา การบุกรุกป่าชายเลนโดยมนุษย์มีหลายรูปแบบ สาเหตุสำคัญของการทำลายป่าชายเลนคือ การ บุกรุกทำลายป่าชายเลนเพื่อทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทำเลหรือทำนากุ้ง โดยในช่วงหลังปี พ.ศ. 2522 เนื่องจากมีการตื่นตัวในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเฉพาะเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนการลงทุนค่อนข้างสูง และมีระยะคืนทุนสั้นทำให้ธุรกิจการ เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีเนื้อที่เลี้ยงเพิ่มขึ้นจาก 162,725 ไร่ ในปี 2522 เป็น ประมาณกว่า 600,000 ไร่ ในปี 2529 หรือคิดเป็นร้อยละ 64.30 ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ทั้งหมด ส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายตัวของชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการขุดลอกร่องน้ำ มีการขยายตัวไม่มากนัก โดยในช่วงระหว่าง ปี 2523 - 2529 ประมาณ 328,581 ไร่ หรือคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 35.70 ของเนื้อที่ป่าชาย เลนที่ถูกทำลายทั้งหมดจนถึงปี 2529 (ไพโรจน์, 2534) การจำแนกป่าชายเลน ส่วนใหญ่ใช้ลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมและพันธุ์ไม้ เด่นในสังคมหลักในการจำแนกชนิดป่า คือ ต้องเป็นป่าที่ปกคลุมอยู่บนดินเลนริมฝั่งทะเลในแถบ น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลเข้าถึง โดยเฉพาะปากแม่น้ำต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งตะกอนของอนุภาคดินที่ถูกพัด ลงมากับสายน้ำ ปกติต้องมีน้ำเค็มท่วมถึงและมีไม้เด่นที่มีการปรับตัวให้ขึ้นได้บนดินเลนที่อ่อนนิ่ม และขาดออกซิเจนในดินโดยการมีการพัฒนาระบบเรือนรากเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ภาพใต้สภาพ ดินที่อ่อนนุ่นและขาดออกซิเจน โดยการสร้างรากค้ำยัน (prop root) และรากหายใจ (pneumatophores) เป็นต้น นอกจากนี้พรรณไม้ในป่าชายเลนส่วนใหญ่ที่ใบมักมีสารเคลือบ (wax) เพื่อป้องกันการเสียน้ำมากเกินไป หรือบางชนิดมีต่อมขับเกลือที่โคนใบ (salt grand) เพื่อ ลดความเค็มของน้ำก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ พันธุ์ไม้ดัชนีที่ใช้แยกสังคมพืชป่าชายเลนที่สำคัญ คือ ไม้ในสกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) แสม (Avicennia spp.) ลำพูและลำแพน (Sonneratia spp.) ถั่ว (Bruguiera spp.) และโปรง (Ceriops spp.) เป็นต้น สำหรับการกระจายของชนิดพรรณ ไม้ป่าชายเลนทางด้านแนวราบนั้น พบว่าพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่ในป่าขายเลน สามารถที่จะ กำหนดเขตการกระจาย (distribution zone) ออกได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญที่เข้า รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above