Page 29

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-8 รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร โดยลักษณะโครงสร้างของทางสังคมพืชของป่าแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้ (1) ป่าชายเลน (Mangrove forest) ป่าชายเลน จัดเป็นป่าไม้ในกลุ่มไม่ผลัดใบ (evergreen forests) ส่วนใหญ่เป็นสังคมพืชที่ พบขึ้นอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเล อ่าว ทะเลสาบ ลำคลอง และปากแม่น้ำ ที่มีน้ำทะเลท่วมถึง ป่า ชายเลนพบมากในประเทศแถบโซนร้อน เช่น ในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ป่าชายเลนนอกจากจะมีพันธุ์ไม้มีค่าหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ ไม้โกงกาง (Rhizophora spp.) ไม้โปรง (Ceriops spp.) และพังกาหัวสุม (Bruguiera sexangula (Lour.) Poir.) เป็นต้น แล้วยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนและวัยเจริญเติบโตที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ ปลากระบอก ปลาหมึก และปูทะเล เป็นต้น (สนิท, 2532) นอกจากนี้ป่าชายเลนให้ประโยชน์ทางตรง เช่น ด่านป่าไม้ และการประมงแล้ว ใน ทางอ้อมยังให้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม นับว่าป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่ บริเวณริมชายฝั่งทะเล เพราะธรรมชาติป่าชายเลนนั้นมีความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นเป็นแนว ยาวตามชายฝั่งทะเลเปรียบได้กับกำแพงกั้นภัยธรรมชาติ เช่น กระแสคลื่น กระแสลม เป็นการ ป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชายฝั่ง (เช่น การพังทลายของดินสมรรถนะของดินเพื่อ การเกษตร จุดที่ตั้งของชุมชนทั่วบริเวณชายฝั่งทะเลและแผ่นดินตอนใน นอกขากนี้ยังช่วยป้องกัน มลพิษได้เพราะรากของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่งอกอยู่เหนือพื้นดินประสานกันอย่างหนาแน่น ทำ หน้าที่คล้ายตะแกรงตามธรรมชาติกลั่นกรองสิ่งปฏิกูลต่างๆที่ล่องลอยมากับกระแสน้ำทำให้น้ำ สะอาดขึ้นและยังช่วยให้ตะกอนที่ลอยมากับน้ำตกตะกอนทับถมกันจนเกิด แผ่นดินงอกใหม่ไปใน ทะเล เป็นสถานที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติในการขยายพันธุ์ป่าไม้ชายเลน การประมง ชายฝั่ง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (บุญชนะ และ ธงชัย, 2523; Viles และ Spencer,1990) ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศ ที่ค่อนข้างจะเป็นเอกภาพ (unique) เนื่องจากป่าประเภทนี้ ขึ้นอยู่เฉพาะในเขตร้อน และพบขึ้นกระจายอยู่เฉพาะตามฝั่งทะเลระหว่างบริเวณที่น้ำทะเลขึ้น สูงสุดและลงต่ำสุดองค์ประกอบและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่าชายเลนในทุกแห่งทั่ว โลกมีลักษณะคล้ายกัน (สนิท, 2517) ระบบนิเวศป่าชายเลนประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน เช่นเดียวกับระบบนิเวศประเภทอื่น ๆ คือ องค์ประกอบส่วนที่เป็นโครงสร้างของระบบนิเวศ


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above