Page 324

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

7-3 (1.3) ไฟล์ข้อมูลพิกัดตำแหน่ง/เส้นทางการสำรวจข้อมูลด้านต่าง ๆ (1.4) ข้อมูล DEM (1.5) โปรแกรม ArcGIS: ArcInfo สำหรับการนำเข้าข้อมูล การวิเคราะห์ประมวลผล และ การแสดงผลข้อมูลในรูปแผนที่ (1.6) โปรแกรม ERDAS สำหรับการเตรียมข้อมูลดาวเทียมเบื้องต้น (1.7) เครื่อง GPS LEICA 5 PLUS ค่าความถูกต้อง 1-3 เมตร สำหรับการสำรวจจุด GCP และจุดตัวอย่าง (Sample point) ในพื้นที่ (2) วิธีการศึกษา (2.1) การเตรียมข้อมูลดาวเทียมเบื้องต้น (Pre-processing) ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร การศึกษานี้ใช้ข้อมูลดาวเทียม SPOT-5 เป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ต่าง ๆ โดยข้อมูลดาวเทียม SPOT-5 ได้สั่งผลิตจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ ซึ่งได้มาเป็นไฟล์ภาพ GeoTIFF ขาวดำ (Panchromatic) และสี (Multispectral) ที่มีค่าพิกัดและมีการปรับแก้เชิงพื้นที่มาแล้ว แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ศึกษาเป็น พื้นที่ส่วนหนึ่งของทั้งภาพที่ได้มา จึงทำการตัดภาพเฉพาะที่ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา แล้วทำการเพิ่ม ความคมชัดและปรับแก้ความถูกต้องทางภูมิศาสตร์อีกครั้งดังนี้ (2.1.1) การทำ Pan-sharpening เป็นการรวมข้อมูล Panchromatic ซึ่งมีความละเอียด เชิงพื้นที่สูงแต่ความละเอียดเชิงคลื่นต่ำ กับข้อมูล Multispectral ซึ่งมีความละเอียดเชิงพื้นที่ต่ำ กว่าแต่มีความละเอียดเชิงคลื่นสูง เข้าด้วยกัน ด้วยคำสั่ง Natural color และ Resolution merge ในโปรแกรม ERDAS ภาพที่ได้หลังจากรวมกันแล้วจะมีความคมชัดของภาพเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถ จำแนกประเภทพื้นที่ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น (2.1.2) การสำรวจจุดควบคุม (GCP: Group Control Point) เพื่อทำ Image rectification ซึ่งเป็นการปรับข้อมูลภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและสอดคล้องกับตำแหน่งบนผิวโลก ด้วย คำสั่ง Spatial georeference ในโปรแกรม ERDAS


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above