Page 325

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

7-4 (2.2) การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (2.2.1) ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ ได้แก่ แนวเขตพื้นที่ศึกษา เส้นทางคมนาคม หมู่บ้าน และที่ตั้ง สถานที่สำคัญต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการใช้ข้อมูลดาวเทียม SPOT-5 เป็นแผนที่พื้นฐานในการ นำเข้าข้อมูลโดยวิธีการ head up digitize ด้วยโปรแกรม ArcGIS และมีการสำรวจภาคสนาม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ในการชี้แนวเขตพื้นที่ และให้ข้อมูลเฉพาะต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมเพื่อ จัดทำฐานข้อมูล (2.2.2) ลักษณะกายภาพของพื้นที่ ข้อมูลลักษณะกายภาพของพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลความสูง (elevation) ความลาดชัน (slope) ทิศด้านลาด (aspect) และเงาเขา (hillshade) ข้อมูลเหล่านี้สามารถคำนวณได้จากข้อมูล DEM โดยใช้โปรแกรม ArcGIS ในการวิเคราะห์ข้อมูล (2.2.3) สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบัน ทำการแปลตีความข้อมูลดาวเทียม SPOT-5 บริเวณพื้นที่ศึกษา โดยขั้นแรกทำการจำแนก ด้วยวิธี supervised classification ในโปรแกรม ERDAS เพื่อจำแนกข้อมูลภาพออกเป็นประเภท พื้นที่กลุ่มใหญ่ๆ ก่อน หลังจากนั้นทำการสำรวจตัวอย่างในพื้นที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของ การจำแนก แล้วทำการปรับแก้และจำแนกด้วยสายตาให้ละเอียดมากขึ้น นำเข้าข้อมูลโดยวิธีการ head up digitize ด้วยโปรแกรม ArcGIS (2.2.4) ตำแหน่งการสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ จากข้อมูลพิกัดตำแหน่งการสำรวจข้อมูลด้านต่าง ๆ แปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรม ArcGIS (2.3) จัดทำแผนที่และตารางในการแสดงผลข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดในพื้นที่ ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above