Page 353

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

7-32 ปัจจุบันพื้นที่ทั้งสองมีการจัดการพื้นที่เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ดีอยู่แล้ว ในพื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีการใช้ประโยชน์ที่ค่อนข้างเข้มข้น แต่ก็มีมาตรการการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่ได้ผล อย่างเช่นบริเวณสองปากคลองบังตราน้อย และคลอง บังตราใหญ่ ตลอดจนแนวสองฝั่งคลองขึ้นมานั้น ได้กันให้เป็นพื้นที่ป่าชายเลน ร่วมกับส่งเสริม กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างดี และมีการอนุรักษ์พื้นที่โดยการปลูกฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ใน พื้นที่ป่าฟื้นฟูทดแทน บางแปลงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์กลายสภาพเป็นป่าผสมผสานด้วยพันธุ์ไม้ ต่าง ๆ ส่วนบางพื้นที่ที่เพิ่งเริ่มการปลูกฟื้นฟู ก็ควรได้รับการบำรุงดูแลให้มีสภาพเป็นป่าผสมผสาน อย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ว่างเปล่าหากไม่ได้ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นใด ก็อาจดำเนินการปลูกฟื้นฟู โดยพันธุ์ไม้ป่าหรือไม้ผลก็ได้ สำหรับป่าชายหาด ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามคู่กับท้อง ทะเล ซึ่งภายในพื้นที่อุทยานฯ มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นทั้งจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ต่างชาติ ตลอดจนเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่เข้ามาทัศนศึกษาหรือฝึกอบรมในค่ายฯ ต่าง ๆ ภายในพื้นที่ ป่าชายหาดหรือแนวสนทะเลมีอายุค่อนข้างมาก หากขาดการบำรุงดูแลรักษาหรือ ปลูกฟื้นฟูเพิ่มเติม เมื่อสนทะเลล้มตายไปก็อาจไม่มีแนวป่าชายหาดที่ช่วยปรับแต่งภูมิทัศน์ของ ชายหาดให้สวยงามได้อย่างต่อเนื่อง พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แบ่งการใช้ประโยชน์ ที่ดินเป็น 2 ส่วนใหญ่คือ พื้นที่ราบ และพื้นที่สูงบนภูเขา ในพื้นที่ราบนั้นมีการแบ่งส่วนการใช้ ประโยชน์ที่ดินในกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ค่อนข้างชัดเจน ได้แก่ งานศึกษาทดลองด้านพืชเพื่อ ส่งเสริมอาชีพ งานศึกษาทดลองการใช้หญ้าแฝกในดินดาน งานเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า งานประมง งานพัฒนาที่ดิน งานฝึกอาชีพเยาวชน งานพัฒนาชุมชน โดยกำหนดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้ง หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านไทย-พุทธ และหมู่บ้านไทย-อิสลาม ฯลฯ พื้นที่ราบส่วนอื่น ๆ ที่มิใช่ อ่างเก็บน้ำ ก็มีการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าด้วยพันธุ์ไม้ป่าและไม้ผลต่าง ๆ มากมาย สำหรับบนพื้นที่สูง พื้นที่ปกคลุมด้วยสภาพป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเต็งรังผสมผสาน ส่วนที่สูงบนภูเขาลูกใหญ่ ๆ ได้แก่ เขาเสวยกะปิ เขาทอง เขาบ่อขิง เขาเตาปูน บริเวณตอนล่างจากตีนเขาขึ้นไปมีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ผสมผสาน ส่วนบริเวณยอดเขาพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง และบนยอดเขาเสวยกะปิพบมีสภาพ เป็นทุ่งหญ้าป่าเต็งรัง ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาห้วยทรายฯ มีอ่างเก็บน้ำใหญ่ ๆ ที่อำนวยประโยชน์ให้กับชุมชน โดยรอบ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด อ่างเก็บน้ำเขากะปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย การดูแล พื้นที่ให้มีสภาพป่าปกคลุม สามารถช่วยให้การเก็บกักน้ำภายในอ่างมีความต่อเนื่อง มีปริมาณและ คุณภาพของน้ำ ที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภค บริโภค ตลอดจนมีสิ่งแวดล้อมและวิว ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above