Page 354

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

7-33 ทิวทัศน์ที่สวยงามอีกด้วย ซึ่งจากการสำรวจโดยรอบพื้นที่นั้น พบว่าพื้นที่มีศักยภาพพอต่อการ ส่งเสริมในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยให้มีการพัฒนาจุดท่องเที่ยวเพิ่มเติม ซึ่งจะเสนอ เพิ่มเติมไว้ในหัวข้อของข้อเสนอแนะเพิ่มเติมท้ายบทนี้ (4) แผนที่แสดงตำแหน่งการสำรวจข้อมูลความหลากหลาบทางชีวภาพ ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จากข้อมูลพิกัดตำแหน่งการสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ สังคมพืช พฤกษศาสตร์ สัตว์ และแมลง แปลงข้อมูลพิกัดจากการสำรวจในพื้นที่เข้าสู่ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ จัดทำแผนที่แสดงตำแหน่งการสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้ภาพ ดาวเทียม Spot เป็นแผนที่พื้นฐานในการแสดงแผนที่ ดังภาพที่ 7.17 และภาพที่ 7.18 (5) สรุปรายการข้อมูลและโครงสร้างตารางข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ประเภท คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่ง หรือพิกัดของสิ่งต่าง ๆ หรืออาจเรียกให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า ข้อมูลแผนที่ (Spatial or Map Data) กับ ข้อมูลซึ่งอธิบายคุณลักษณะหรือปริมาณอื่น ๆ ที่อ้างอิงกับตำแหน่งพิกัด ซึ่งเรียกว่า ข้อมูล อรรถาธิบาย (Attribute Data) ข้อมูลทั้งสองประเภทสามารถเชื่อมโยงกัน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ ร่วมกันได้ การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ในโครงการนี้ จัดเก็บเป็น Shape File ใน รูปแบบของโปรแกรม ArcGIS มีระบบพิกัด UTM โซน 47 หน่วยเป็นเมตร (Map Unit: Meters) พื้นหลักฐานทางราบ WGS1984 ซึ่งสามารถสรุปรายการข้อมูลพื้นฐานที่ใช้อ้างอิง และข้อมูลที่ จัดทำใหม่ ตลอดจนโครงสร้างตารางข้อมูลที่สัมพันธ์กัน แสดงไว้ในตารางที่ 7.10 สำหรับ ไฟล์ข้อมูลทั้งหมดบันทึกไว้ในรูปของ CD ROM


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above