Page 36

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-15 ผลการศึกษาการเจริญเติบโตของพรรณไม้ป่าชายเลนที่มีการส่งเสริมการปลูก เมื่อปี พ.ศ. 2537 และปล่อยให้มีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ โดยทำการจัดชั้นขนาดความโตตาม เส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก (diameter at breast height, 1.30 m) พบว่า พรรณไม้ส่วนใหญ่ใน พื้นที่เป็นกลุ่มพรรณไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก ระหว่าง 2.5- 5.0 cm มากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มชั้นพรรณไม้ขนาดเล็ก (< 2.5 cm) ส่วนไม้ที่มีขนาดความโตในระดับกลาง (5- 12.5 cm) มีปริมาณต้นไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ที่มีขนาดเล็กในสองชั้นแรก (ภาพที่ 2.4) แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของพรรณไม้ป่าชายเลนกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาทั้งในส่วนของ ขนาดความโตและองค์ประกอบชนิดพรรณ เนื่องจากมีพรรณไม้หลายชนิด ที่ไม่ได้ทำการปลูกแต่มี การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนเข้ามาเป็นพรรณไม้เด่นในป่าชายเลนได้ เช่น โพทะเล และแสม ทะเล เป็นต้น 1400 1200 1000 800 600 400 200 รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ภาพที่ 2.4 ลักษณะการกระจายของพรรณไม้ตามขนาดชั้นเส้นผ่าศูนย์กลาง ของป่าชายเลน 0 < 2.50 2.51-5.00 5.01-7.50 7.51-10.00 10.01-12.50 > 12.51 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง (cm) จำนวน (ต้น) โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ แสมทะเล ฝาดขาว โพทะเล ตาตุ่มทะเล โกงกางหัวสุม แสมขาว โปรงขาว


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above