Page 369

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

8-3 อดีตนั้นพรรณไม้เด่นที่มีค่าทางเศรษฐกิจได้ถูกบุกรุกตัดไปใช้ประโยชน์ และขณะนี้ป่าผสมผลัดใบ กำลังฟื้นสภาพกลับสู่ป่าดั้งเดิมอีกครั้ง ทั้งขนาดความโตที่เพิ่มขึ้น และความหลากหลายของชนิด ไม้ที่ปรากฏในพื้นที่ 4. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp Forest) การกระจายของป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานฯ พบป่าชนิดนี้ได้ตั้งแต่ระดับพื้นราบ ใน บริเวณที่ดินเป็นทรายจัด ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50 เมตร จนกระทั่งถึงบริเวณสันเขา และยอดเขาที่สูงที่สุดของพื้นที่ ประมาณ 230 เมตร จากระดับน้ำทะเล โครงสร้างของสังคมพืชมี การปกคลุมของเรือนยอด เป็นลักษณะของเรือนยอดเปิดแบบห่าง (open sparse canopy) โดยที่ บริเวณพื้นป่ามักมีไผ่เพ็กหรือหญ้าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป พรรณไม้เด่นในชั้นเรือนยอด เป็นกลุ่มของ ไม้วงศ์ยางที่ผลัดใบ สามารถจำแนกโครงสร้างด้านตั้งออกได้ 3 ชั้นเรือนยอด คือ 1) เรือนยอดชั้น บน มีความสูงถึง 15-20 เมตร 2) เรือนยอดชั้นรอง มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร และ 3) เรือน ยอดชั้นล่าง มีความสูงของต้นไม้ไม่เกิน 5 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ เป็นพืชในวงศ์หญ้า (Gramineae) และไม้ล้มลุกในวงศ์ถั่ว (Leguminoseae) รวมถึงไม้ล้มลุกอื่นๆ ที่มีสภาพทาง นิเวศวิทยาเหมาะสมกับการดำรงชีพในที่แห้งแล้งและมีไฟป่าบ่อยครั้ง ตลอดจนมีการปรับตัวให้ เข้ากับฤดูกาลที่มีการแบ่งแยกค่อนข้างเด่นชัดระหว่างช่วงการเจริญเติบโตและช่วงพัก ความ หนาแน่นของพืชชั้นล่างแปรผันตามปริมาณแสงที่ลอดผ่านเรือนยอดชั้นบน ๆ ลงมา ส่วนที่เรือน ยอดชั้นบนค่อนข้างหนาแน่นและต่อเนื่องกว้างขวาง ความหนาแน่นของพืชคลุมผิวดินมักมีน้อย แต่ในส่วนที่ป่ามีเรือนยอดค่อนข้างเปิดพืชคลุมดินมักแน่นทึบ พรรณไม้ในป่าชนิดนี้ที่มีความเด่นมากที่สุดคือ รัง รองลงไปคือ กุ๊ก (Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.) ตะแบกเลือด (Lagerstroemia calyculata Kurz) แดง (Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub. var. kerrii (Craib & Hutch.) I.C.Nielsen) ช้างน้าว (Ochna integerrima (Lour.) Merr.) กาสามปีก (Vitex peduncularis Wall. ex Schauer) มะม่วงนก (Buchanania glabra Wall. ex Hook.f.) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz) หนามแท่ง (Catunaregam longispina (Roxb. ex Link) Tirveng.) และคำรอก (Ellipanthus tomentosus Kurz var. tomentosus) โดยกลุ่มพรรณไม้เด่นในป่าเต็งรังมีความคล้ายคลึงกับในป่าผสมผลัดใบ ในพื้นที่มาก เนื่องจากชนิดป่าทั้งสองชนิดนี้มักพบขึ้นปะปนกันภายในพื้นที่อุทยานฯ ส่วนจะเป็น ป่าชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ทำให้พรรณไม้เด่นในป่าทั้งสองมีการโปรยเมล็ด งอก รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above