Page 370

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

8-4 และเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ ดังนั้น ความคล้ายคลึงด้านชนิดพันธุ์พืชระหว่างป่าจึงมีสูง มาก 5. ป่าทดแทนหรือ ป่ารุ่นที่สอง (successional forest/secondary forest) ป่าทดแทนหรือป่ารุ่นที่สอง เกิดขึ้นโดยการส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ป่าหลากหลาย ชนิดขึ้น ในบริเวณที่รกร้างว้างเปล่าของพื้นที่อุทยานฯ พันธุ์ไม้เด่นในพื้นที่ป่าทดแทน คือ นนทรี ข่อย (Streblus asper Lour.) สะเดา ขี้เหล็ก มะขามเทศ มะพลับ กระถินณรงค์ ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus Willd.) และขันทองพยาบาท โดยที่พรรณไม้นนทรี และข่อย มีความ หนาแน่น มากที่สุด คือ 353.33 ต้นต่อเฮคแตร์ ความหลากหลายของพรรณพืช การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชมีท่อลำเลียงในอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จากการสำรวจและศึกษาความหลากหลายของ พรรณพืชมีท่อลำเลียงในสังคมพืชป่า ชายเลนในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ข้อมูลการระบุพืชดังนี้ พบเฟิร์น 1 วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด พืชดอก 24 วงศ์ 48 สกุล 53 ชนิด จำแนกพืชใบเลี้ยงคู่ 20 วงศ์ 37 สกุล 41 ชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 4 วงศ์ 11 สกุล 12 ชนิด ความหลากหลายของพรรณพืชมีท่อลำเลียงในสังคมพืชชายหาดในอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ข้อมูลการระบุพืชดังนี้ พบพืชดอก 36 วงศ์ 92 สกุล 99 ชนิด จำแนกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 33 วงศ์ 73 สกุล 77 ชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 3 วงศ์ 19 สกุล 22 ชนิด ความหลากหลายของพรรณไม้ต้นและไม้พุ่มบริเวณป่าปลูกของโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ข้อมูลการระบุพืชดังนี้ พบพืช ดอก 19 วงศ์ 35 สกุล 38 ชนิด จำแนกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 18 วงศ์ 34 สกุล 37ชนิด และพืชใบเลี้ยง เดี่ยว 1 วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above