2-18 2. Inland vegetation area เป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ห่างจากชายหาดประมาณ 50 เมตร สังคมพืชประกอบไปด้วยไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ต้นขนาดกลาง เช่น เกด (Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard) เมา (Syzygium grande (Wight) Walp.) กร่าง (Ficus virens var. glabella Corner) และมะกัก (Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman) เป็นต้น ลักษณะโครงสร้างของป่าชายหาดแปรผันไปตามปัจจัยแวดล้อมโดยเฉพาะลักษณะดิน และหินของแต่ละพื้นที่ (Bangkurdpol, 1979) ทางภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เช่น จังหวัด สงขลา พังงา และภูเก็ต เป็นสังคมพืชของสนทะเล ฝั่งทะเลที่มีสภาพเป็นหินโดยเฉพาะตามเกาะ ต่างๆ เป็นสังคมพืชที่พรรณไม้มีความสูงไม่มากนัก และมีเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันโดยตลอด พรรณ ไม้เด่น เช่น รังกระแท้ (Kandelia candel Druce) และตะบูน (Xylocarpus granatum Koen) เป็น ต้น บนดอนทรายที่ห่างจากฝั่งขึ้นมาเป็นโครงสร้างของป่ามีความชื้นสูง สามารถแบ่งเรือนยอดได้ เป็น 2-3 ชั้นเรือนยอด และพื้นที่ที่เป็นหินหรือหัวแหลมซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมทะเลโดยตรง ทำให้ สังคมพืชบริเวณนี้ประกอบด้วยต้นไม้ที่แคระแกร็น มีลักษณะเป็นพุ่มลำต้นคดงอและแตกกิ่งก้าน มาก กิ่งสั้น ใบหนาแข็ง ส่วนมากเป็นไม้หนาม ไม้พุ่มและเถาวัลย์ เช่น มะนาวผี (Atalantia monophylla) กระแจะหรือช้างน้าว (Ochna integerrima Merr.) และ เหมือดจี้ดง (Memecylon plebejum Kurz.) เป็นต้น ในพื้นที่ที่มีลมไม่แรงมากนัก ต้นไม้มีการเจริญเติบโตตามปกติ (อุทิศ, 2542 ; Smitinand, 1977) สังคมสนทะเล มักก่อตัวในหาดทรายที่เกิดใหม่และมีไม้สนทะเลเด่น เพียงชนิดเดียว อย่างไรก็ตามอาจจะพบพันธุ์ไม้ชนิดอื่นด้วย เช่น หูกวาง โพทะเล และกระทิง (Calophyllum inophyllum) เป็นต้น พรรณไม้เหล่านี้มีความสูงไม่มากและลำต้นคดงอด้วยแรงลม แต่มีเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันโดยตลอดและแน่นทึบจนจรดดิน พื้นป่ามักโล่งเตียนเนื่องจากดินที่เป็น ทรายจัดและถูกปกคลุมด้วยซากใบสน ไม้พื้นล่างที่อาจพบบ้างได้แก่ ผักบุ้งทะเล หญ้าลอยลม (Spinifex littoreus) และถั่วคล้า เป็นต้น พืชเหล่านี้เป็นพืชเลื้อยชิดดิน และมักแสดงให้เห็นถึงการ รุกล้ำเข้ายึดหาดทรายเพื่อการทดแทนตามธรรมชาติ รากที่งอกตามข้อช่วยยึดสันทรายให้มีความ เสถียรมากขึ้น ทำให้เกิดการงอกและตั้งตัวของพรรณไม้อื่น ๆ ตามสันทรายได้ จากการสำรวจโครงสร้างและองค์ประกอบชนิดพรรณไม้ป่าชายหาด บริเวณพื้นที่อุทยานฯ (ภาพที่ 2.5) พบว่ามีพรรณไม้ดัชนีที่สำคัญไม่มากนัก ผลการสำรวจจากการใช้แปลงตัวอย่าง พบ ชนิดไม้เพียง 5 ชนิด โดยพรรณไม้สนทะเล เป็นพรรณไม้เด่นที่สำคัญมากกระจายปกคลุมทั่วทั้ง พื้นที่ป่าชายหาด รองลงมาได้แก่ สะเดา (Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above