Page 38

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-17 คงเหลือไว้เป็นหย่อมเล็ก ๆ มีสภาพเสื่อมโทรมเป็นส่วนใหญ่ (อุทิศ, 2542) กลุ่มพรรณไม้ในป่าชาด หาดส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ที่ไม่ผลัดใบมากกว่าพรรณไม้ผลัดใบ และเนื่องจากสังคมพืชป่า ชายหาดได้รับอิทธิพลจากทะเลอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม พรรณ พืชที่ปรากฏจึงเป็นพืชดินเค็ม (halophyte) และ ต้นไม้ที่ขึ้นในสภาพที่มีลมพัดจัดตลอดเวลา มักมี ลักษณะแคระแกร็น เป็นพุ่มคดงอ และกิ่งก้านสั้น ประกอบด้วยพรรณไม้น้อยชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้ หนามและเถาวัลย์ และมีการเจริญเติบโตช้า (Warming, 1909; Whitehead, 1968; Smitinand, 1977) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร พรรณไม้ป่าชายหาดส่วนมาก มีเมล็ดและผลที่ลอยน้ำได้ทำให้สามารถแพร่กระจายพันธุ์ ไปกับน้ำได้ (Richard, 1957) หรือบางชนิดอาจแพร่กระจายพันธุ์โดยอาศัย นก และ ค้างคาว (Airy Show, 1953) ส่วนเฟิร์นและกล้วยไม้หลายชนิดมีการแพร่กระจายพันธุ์โดยลม (Packhman และ คณะ, 1992) การเปลี่ยนแปลงของพรรณพืชในป่าชายหาด เป็นการศึกษาถึงลักษณะของโครงสร้าง ทางด้านราบ (horizontal structure) บ่งบอกถึงการกระจายทางด้านพื้นที่ หรือการแบ่งเขตการ ขึ้นอยู่ของพรรณพืช วิธีการแบ่งเขตพรรณพืชอาศัยลักษณะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน สำหรับ ประเทศไทย Maxwell (1974) ได้ศึกษาสังคมพืชป่าชายหาด และได้แบ่งพรรณพืชออกเป็น เป็น 2 เขต เช่นเดียวกับ Schimper (1891) คือ 1) Pes-caprae formation เป็นเขตของไม้ล้มลุก พรรณไม้ เด่นคือ ผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae (L.) R.Br.) และ 2) เขต Barringtonia formation เป็น เขตแคบๆ มีความกว้างประมาณ 25-50 เมตร พรรณไม้เด่นคือ จิก (Barringtonia spp.) อย่างไรก็ ตามในเขตของ Barringtonia formation สำหรับประเทศไทยจะไม่พบพืชสกุล Barringtonia เป็น ชนิดไม้เด่น แต่ก็มีโครงสร้างและพรรณพืชอื่นๆ เหมือนกับในเขตนี้ Nanakorn (1993) แบ่งเขตของ พรรณพืชป่าชายหาดของประเทศไทยเป็น 2 เขต คือ 1. Sandy beach area เป็นพื้นที่ที่มีพรรณไม้น้อยชนิดซึ่งส่วนมากเป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มที่ มีรากสั้น เช่น ผักบุ้งทะเล ถั่วคล้า (Canavalia rosea (Sw.) DC.) และ คนทิสอ (Vitex trifolia L.) ไม้ต้น เช่น สนทะเล (Casuarina equisetifolia J. R. & G. Forst) และหูกวาง (Terminalia catappa L.) ซึ่งเป็นแนวกันลมได้อย่างดี


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above