Page 44

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-23 (3) ป่าผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest) ป่าผสมผลัดใบ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ป่าเบญจพรรณ ซึ่งเป็นการเรียกตามความสำคัญ ของชนิดพรรณไม้ที่พิจารณาถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจของไม้ในอดีต โดยประกอบด้วยชนิดไม้ที่ สำคัญ 5 ชนิดหลัก คือ สัก (Tectona grandis) แดง (Xylia xylocarpa var. kerrii) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) ชิงชัน และมะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) เป็นต้น ลักษณะที่ใช้ ในการจำแนกขั้นต้นคือ การที่ต้นไม้เกือบทั้งหมดมีการผลัดใบทิ้งในช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ ปลายเดือนมกราคมไปจนถึงเมษายน โดยทิ้งให้เรือนยอดป่าคงเหลือแต่กิ่งก้านคล้ายไม้ตายแห้ง หมดทั้งป่า ลักษณะในขั้นถัดไปที่ใช้จำแนกสังคมพืชนี้จากสังคมพืชผลัดใบอื่น ๆ คือ ใช้ไม้ดัชนี ของสังคมและโครงสร้างทางด้านตั้งเป็นหลัก ไม้ดัชนียังสามารถใช้ในการจำแนกสังคมในระดับ ย่อยอีกด้วย (Bunyavejchewin, 1979) ป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มักมีไม้ไผ่ที่ผลัดใบในช่วงฤดู แล้งขึ้นผสมอยู่กับไม้ระดับรองอื่น ๆ ชนิดสำคัญที่ใช้เป็นไม้ดัชนีได้ส่วนหนึ่งคือ ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) ไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus) ไผ่บง (Bambusa nutans) และ ไผ่บงดำ (B. tulda) และไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) เป็นต้น การจำแนกสังคมนี้จึงมัก กระทำได้ชัดเจนทั้งจากการเดินสำรวจในฤดูแล้ง หรือจากภาพถ่ายทางอากาศ โดยเฉพาะในฤดูที่ ใบไม้เปลี่ยนสีซึ่งใบไผ่มักให้สีเหลืองอ่อน การกระจายของป่าชนิดนี้ในประเทศไทย ปรากฏตามธรรมชาติในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน ครอบคลุมต่ำลงไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนบน มีปรากฏที่ระดับความสูง ตั้งแต่ 50 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไปจนถึง 800 เมตร หรือมากกว่านี้ในบางจุด มีปริมาณ น้ำฝนต่ำกว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปีหรือน้อยกว่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,200-1,400 มิลลิเมตร ต่อปี การกระจายในแต่ละท้องที่ขึ้นอยู่กับความแปรผันของปัจจัยแวดล้อม ดังเช่นบนลาดเขาทาง ทิศตะวันตกของประเทศในภาคเหนือ มักพบที่ระดับความสูงต่ำกว่า 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ด้านลาดทางทิศตะวันออกมักขึ้นไปสูงกว่านี้ (Kutintara, 1975) บริเวณริมลำห้วยในบางพื้นที่ ที่มีสภาพชื้นมากอาจพบป่าไม่ผลัดใบเป็นแถบเล็ก ๆ และเหนือขึ้นไปเป็นป่าผสมผลัดใบที่มีไม้ไผ่ ผสมอยู่ สูงขึ้นไปอีกอาจเป็นป่าเต็งรังหรือป่าผสมผลัดใบระดับสูงแล้งแล้วแต่สภาพพื้นที่ ใน บริเวณที่มีดินพัฒนามาจากหินปูน มีความลึกมาก ปริมาณหินบนผิวดินน้อย มักปกคลุมด้วยป่า ผสมผลัดใบที่มีไม้สักเป็นไม้เด่นในชั้นเรือนยอด โดยเฉพาะในทางภาคเหนือของประเทศ หากเป็น ภาคกลางหรือภาคตะวันออกมักเป็นสังคมป่าผสมผลัดใบระดับต่ำซึ่งไม่มีไม้สักปรากฏอยู่ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above