2-24 โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่าสังคมป่าผสมผลัดใบที่มีไม้สักเป็นไม้เด่นมีพบกระจายตั้งแต่จังหวัด นครสวรรค์ขึ้นไปจนสุดภาคเหนือและไม่ปรากฏในภาคตะวันออก ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดสังคม พืชชนิดนี้ขึ้นในประเทศไทยคือ ฤดูกาล ป่าผสมผลัดใบพบในพื้นที่ที่มีสามฤดูคือฤดูร้อน ฤดูหนาว และฤดูฝน มีช่วงที่ขาดฝนเกินกว่า 4 เดือนเป็นอย่างต่ำ และปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย ความชื้น ในดินขาดแคลนสำหรับการรักษาใบให้คงอยู่ในช่วงแห้งแล้ง ไฟป่าอาจเป็นปัจจัยสำคัญอีก ประการหนึ่งที่ทำให้สังคมป่าชนิดนี้ดำรงอยู่ได้ซึ่งปกติป่าชนิดนี้มีไฟป่าเป็นประจำ พันธุ์ไม้ส่วน ใหญ่ในสังคมมีการปรับตัวในหลายรูปแบบเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ภายใต้อิทธิพลของไฟ ปกติมักพบ ป่าชนิดนี้ไม่กว้างใหญ่มาก มักสลับกันอยู่กับป่าชนิดอื่นโดยเฉพาะป่าเต็งรัง ทั้งนี้ เนื่องจากความ แปรผันของปัจจัยแวดล้อม การผลัดใบที่เกิดขึ้นเนื่องจากความชื้นในดินที่ต่ำมากในช่วงฤดูแล้ง พืช ส่วนใหญ่จึงต้องหยุดพักการเจริญเติบโตและผลัดใบเพื่อลดการเสียน้ำจากลำต้น ผลจากการวางแปลงศึกษาและการวางแนวสำรวจ เพื่อสำรวจโครงสร้างและองค์ประกอบ พรรณพืช โดยให้มีพื้นที่สำรวจกระจายทั่วทั้งพื้นที่อุทยานฯ (ภาพที่ 2.8) พบว่ามีการกระจายของป่า ผสมผลัดใบได้ตั้งแต่ระดับความสูง 50 – 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล สำหรับบริเวณริมลำห้วยใน บางพื้นที่ที่มีสภาพชื้นมากอาจพบป่าไม่ผลัดใบเป็นแถบเล็ก ๆ และเหนือขึ้นไปเป็นป่าผสมผลัดใบที่ มีไม้ไผ่ซางนวล (Dendrocalmus strictus) และไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) ขึ้นผสมอยู่ใน เรือนยอดชั้นรอง ส่วนที่ระดับสูงขึ้นไปอีกตามสันเขาและยอดเขาส่วนใหญ่จะพบป่าเต็งรัง ลักษณะ โครงสร้างของป่าผสมผลัดใบ มีเรือนยอดการปกคลุมเป็นเรือนยอดเปิด สามารถจำแนกชั้นเรือน ยอดได้ 3 ชั้นเรือนยอดค่อนข้างชัดเจน (ภาพที่ 2.9) คือ 1) เรือนยอดชั้นบน มีความสูงถึง 20-25 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ส่วนใหญ่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus ) แดง (Xylia xylocarpa var. kerrii) ขี้อ้าย (Terminalia triptera) ตะแบกเปลือก บาง (Lagerstroemia duperreana) และ กระบก (Irvingia malayana) เป็นต้น 2) เรือนยอดชั้น รอง มีความสูงถึง 15-20 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ ฉนวน (Dalbergia nigrescens Kurz) ปี้ (D. cana Graham) ถ่านไฟผี (Diospyros montana) กาสามปีก (Vitex peduncularis) งิ้วป่า (Bombax anceps) และ ส้มกบ (Hymenodictyon orixense) เป็นต้น ในชั้นเรือนยอดนี้มีไม้ไผ่ ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ที่พบได้แก่ ไผ่ไร่และไผ่ซางนวล และ 3) เรือนยอดชั้นพื้นล่าง มี ความสูงระหว่าง 5-10 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ ติ้วขน (Cratoxylum formosum) เหมือดจี้ Memecylon scutellatu) ลาย (Microcos tomentosa) อีแปะ (Vitex quinata) หนาม คนทา (Harrisonia perforata) คำมอกหลวง (Gardenia sootepensis) และเปล้าหลวง (Croton รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above