Page 46

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-25 roxburghii) เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่า บริเวณพื้นป่า มักพบพรรณพืชที่มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุฤดูกาลเดียวในวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) ได้แก่ ว่านดอกเหลือง (Globba villosula) เปราะใหญ่ (Kaempferia elegans) และว่านชักมดลูก (Curcuma comosa) เป็นต้น สำหรับพรรณไม้เด่นในป่าผสมผลัดใบ เมื่อพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของพรรณ ไม้ คือ กุ๊กหรืออ้อยช้าง ตะแบกเลือด มะค่าแต้ อีแปะ ประดู่ แดง รัง ตะแบกเปลือกบาง งิ้วป่า และมะเกลือ โดยมีค่าความสำคัญเท่ากับ 23.72, 21.76, 19.77, 18.31, 16.89, 16.68, 16.58, 16.49, 16.28 และ 15.01 ตามลำดับ จะเห็นว่า ชนิดพรรณไม้เด่นนั้นหลายชนิดเติบโตมาจากไม้ ในเรือนยอดชั้นรอง เช่น กุ๊ก ตะแบกเลือด และอีแปะ เป็นต้น เนื่องจากในอดีตนั้นพรรณไม้เด่นที่มี ค่าทางเศรษฐกิจได้ถูกบุกรุกตัดไปใช้ประโยชน์ และขณะนี้ป่าผสมผลัดใบกำลังฟื้นสภาพกลับสู่ ป่าดั้งเดิมอีกครั้ง ทั้งขนาดความโตที่เพิ่มขึ้น และความหลากหลายของชนิดไม้ที่ปรากฏในพื้นที่ (ตารางที่ 2.3) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above