Page 53

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-32 (4) ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp Forest) ป่าเต็งรัง จัดเป็นป่าในกลุ่มป่าผลัดใบ ดังนั้น ลักษณะสำคัญในอันดับแรกของการจำแนก คือ การผลัดใบของไม้ส่วนใหญ่ในทุกระดับชั้นเรือนยอดเช่นเดียวกับป่าผสมผลัดใบ ลำดับต่อไปใน การจำแนกป่าชนิดนี้ก็คือไม้ดัชนีในสังคมซึ่งมีความแตกต่างจากป่าในกลุ่มป่าผลัดใบในสังคมอื่น อย่างเด่นชัด โดยที่ป่าเต็งรังมีไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) ที่มีการผลัดใบในช่วงฤดูแล้งได้แก่ เต็ง (Shorea obtusa Wall.ex Blume) รัง (S. siamensis Miq. var. siamensis) ยางเหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) ยางพลวง (D. tuberculatus Roxb.) และยางกราด (D. intricatus Dyer) เป็นต้น ปกติ พรรณไม้เหล่านี้ต้องเป็นไม้เด่นในชั้นเรือนยอดและควรมีอย่างน้อยสองชนิดขึ้นไป ลักษณะ โครงสร้างของสังคมและปัจจัยแวดล้อมอาจมีส่วนช่วยในการตัดสินใจ ป่าเต็งรังโดยทั่วไปมักไม่มี ไม้ไผ่ผสมอยู่ยกเว้นบริเวณรอยต่อระหว่างป่าชนิดนี้กับป่าผสมผลัดใบอาจพบเห็นได้บ้าง (Smitinand, 1977a; Kutintara, 1975) ปกติแล้วในการจำแนกด้วยการใช้พันธุ์ไม้ดัชนี พันธุ์ไม้ พะยอม (Shorea roxburghii G.Don) จะไม่ถือเป็นไม้ดัชนีของสังคมนี้ เนื่องจากเป็นไม้ที่ขึ้น กระจายอยู่ได้ทั่วไปในหลายชนิดป่า อย่างไรก็ตามก่อแพะ (Quercus kerrii Craib var. kerrii) และก่อนก (Lithocarpus polystachyus (A.DC.) Rehder) มักพบเป็นประจำในป่าเต็งรัง เช่นเดียวกับไม้พื้นล่างหลายชนิด เช่น ปรงเหลี่ยม (Cycas siamensis Miq.) และไผ่เพ็ก (Vietnamosasa pusilla (Chevalier & A.Camus) Nguyen) มีพบในหลาย ๆ ท้องที่ แต่ก็อาจไม่ ปรากฏในป่าเต็งรังบางแห่งของประเทศ ปกติป่าเต็งรังมักมีเรือนยอดค่อนข้างห่างมากกว่าป่าผสม ผลัดใบ และมีลักษณะขึ้นอยู่กันเป็นกลุ่มไม้ (woodland) ดังนั้นเมื่อต้นไม้ขึ้นห่าง ๆ และก็ทำให้มี พื้นที่ว่างระหว่างต้นมาก จนกระทั่งในบางพื้นที่เกิดมีหญ้าขึ้นปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง แม้ว่า จะมีไม้ดัชนีดังกล่าวก็อาจจัดเป็นป่าทุ่งเต็งรังได้ ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้าง ๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าผสมผลัดใบแต่อาจแคบกว่า เล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง สังคมพืชชนิดนี้แท้จริงแล้วมีพบ ในประเทศแถบ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และ บางส่วนของเวียดนามเท่านั้น ในประเทศอินเดียอาจมีป่าซาล (sal) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับป่า เต็งรังกระจายอยู่ในบางส่วน เฉพาะประเทศไทยมีปรากฏตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุด ในจังหวัดเชียงราย ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปรากฏ สลับกันไปกับป่าผสมผลัดใบคือ ยึดครองในส่วนที่พื้นที่มีความแห้งแล้งจัดกักเก็บน้ำได้เลว เช่น รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above