2-33 บนสันเขา หรือบริเวณยอดเขา พื้นที่ราบที่เป็นทรายจัด มีหินโผล่บนผิวดินมาก (rock-outcrop) หรือบนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น มีปรากฏตั้งแต่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 50 - 1,000 เมตร (Bunyavejchewin, 1979) ปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญในการก่อให้เกิดป่าเต็งรัง มีอยู่หลายประการด้วยกัน คือ 1) ช่วง ฤดูกาลที่แบ่งแยกค่อนข้างชัดเจนระหว่างฤดูฝนกับฤดูแล้ง ปกติมักต้องมีช่วงแห้งแล้งจัดเกินกว่า 4 เดือนต่อปี 2) ลักษณะดินเป็นดินทรายกักเก็บน้ำได้ไม่ดีและดินมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุ อาหารต่ำ 3) ปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วง 900-1200 มิลลิเมตรต่อปี และ 4) ไฟป่า จัดเป็นปัจจัย กำหนดป่าเต็งรังที่สำคัญ ไฟป่ามักเกิดขึ้นเป็นประจำจนนักนิเวศวิทยาหลายท่านเชื่อว่าสังคมป่า ชนิดนี้เป็นสังคมถาวรที่มีไฟป่าเป็นตัวกำหนด (pyric climax community) หากไม่มีไฟป่าจะคงอยู่ ไม่ได้ (Kuchler and Sawyer, 1967; Cooling, 1968 Nalampun et al., 1969) ปกติไฟป่ามัก เกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนมีนาคม ไฟเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดโครงสร้าง การคง ชนิดพันธุ์ในสังคมและการสืบพันธุ์ของไม้ในพื้นที่ ป่าเต็งรังถือเป็นป่าที่มีคุณค่ากับสังคมไทยมา นาน พันธุ์ไม้หลายชนิดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางด้านการก่อสร้างโดยเฉพาะ เต็ง ชิงชัน แดง และประดู่ เป็นต้น ฉะนั้นการตัดไม้เหล่านี้ออกมาใช้ประโยชน์จึงมีการกระทำต่อเนื่องกันมานาน การทำไม้ที่ ถูกต้องตามหลักวิชาการและการลักลอบตัดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ป่าชนิดนี้เปลี่ยนรูปและทรุดโทรม ลง การให้สัมปทานทำไม้ฟืนเพื่อการบ่มใบยานับว่ามีส่วนสำคัญต่อสภาพของป่าชนิดนี้ นอกจาก การใช้ประโยชน์ดังที่กล่าวแล้วการนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปเลี้ยงในป่าก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ป่าเต็งรัง เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว สัตว์เลี้ยงเช่น วัว ควาย และช้างบ้านเหยียบย่ำให้ผิวดินแน่นและเกิด การกัดชะรุนแรง หญ้าที่ปกคลุมผิวดินเสื่อมสภาพ การสืบพันธุ์ของไม้เด่นในสังคมเป็นไปโดยยาก ลำลาก การเข้าเก็บหาของป่าเช่น เห็ด ผักหวาน และผลไม้บางชนิดอาจมีส่วนสร้างความเสียหาย ให้แก่ป่าชนิดนี้อยู่บ้างแต่ก็นับว่าไม่รุนแรง ที่สำคัญคือการจุดไฟเผาป่าที่ทำให้เกิดไฟบ่อยครั้งและ รุนแรงเกินไปมีผลต่อระบบนิเวศนี้มาก การกระจายของป่าเต็งรัง ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ พบป่าชนิดนี้ได้ตั้งแต่ระดับพื้นราบ ในบริเวณที่ดินเป็นทรายจัด ที่ระดับความสูงจาก ระดับน้ำทะเล 50 เมตร จนกระทั่งถึงบริเวณสันเขาและยอดเขาที่สูงที่สุดของพื้นที่ ประมาณ 230 เมตร จากระดับน้ำทะเล (ภาพที่ 2.10) โครงสร้างของสังคมพืชมีการปกคลุมของเรือนยอด เป็น ลักษณะของเรือนยอดเปิดแบบห่าง (open sparse canopy) โดยที่บริเวณพื้นป่ามักมีไผ่เพ็กหรือ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above