Page 88

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

3-22 (2.5.3) ชื่อพื้นเมืองของพรรณไม้แต่ละชนิด ยึดตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544 (ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้, 2544) รวบรวมจากข้อมูลภาคสนาม และรวบรวมจากกระดาษบันทึกข้อมูลพรรณไม้ในหอพรรณไม้ และ พิพิธภัณฑ์พืชดังกล่าวข้างต้น (2.6) เขียนรายงานผลการวิจัย การเขียนรายงานผลสำรวจโดยจัดทำบัญชีรายชื่อพรรณไม้ที่พบในพื้นที่ศึกษา สรุปจำนวน วงศ์ สกุล และชนิดพรรณไม้ที่พบในพื้นที่ศึกษา แยกตามกลุ่มพืช เขียนบรรยายพรรณไม้ที่พบใน แต่ละระบบนิเวศ ตรวจสอบสถานภาพพืชตาม IUCN Red List และ Thai Red List ได้แก่ พืชถูก คุกคาม (threatened plant) ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered) ใกล้สูญ พันธุ์ (endangered) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) พืชหายาก (rare plant) และพืชถิ่น เดียว (endemic plant) (3) พื้นที่ศึกษา การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชมีท่อลำเลียงในอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ดำเนินการตามพื้นที่ศึกษาดังนี้ พื้นที่ศึกษาที่ 1 สังคมพืชป่าชายเลน บริเวณสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม (ภาพที่ 3.1) พื้นที่ศึกษาที่ 2 สังคมพืชชายหาด (ภาพที่ 3.2) พื้นที่ศึกษาที่ 3 ป่าปลูกของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ภาพที่ 3.3A) พื้นที่ศึกษาที่ 4 บริเวณพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (ภาพที่ 3.3B-G) บริเวณพระบรมรา ชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 (ภาพที่ 3.3H) และบริเวณบ้านเจ้าพระยารามราฆพ พื้นที่ศึกษาที่ 5 สังคมพืชป่าเต็งรัง บริเวณเขาทอง ที่อยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ซึ่งเป็นพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ภาพที่ 3.4) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above