Page 87

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

3-21 (2.4) การจัดการตัวอย่างพรรณไม้แห้งและดองเพื่อเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช (2.4.1) การทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง โดยนำตัวอย่างมาตัดตกแต่งให้มีขนาดเหมาะสม กับกระดาษเย็บตัวอย่าง ติดแผ่นป้ายหมายเลขตัวอย่าง และอัดตัวอย่างให้ถูกต้องตามวิธีการอัด ตัวอย่าง จากนั้นนำไปอบในตู้อบอุณหภูมิสูง ที่อุณหภูมิ 65-75 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 5-7 วัน (ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนตัวอย่าง) นำตัวอย่างพรรณไม้แห้งบรรจุลงในถุงพลาสติกแล้วรัด ปากถุงให้แน่น แล้วจึงนำ ไปเข้าตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำ ที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา ประมาณ 3 วัน เพื่อป้องกันแมลงทำลายตัวอย่างพรรณไม้ (2.4.2) การทำตัวอย่างพรรณไม้ดอง โดยนำตัวอย่างมาตัดตกแต่งให้มีขนาดเหมาะสมกับ ขวดดอง จากนั้นนำตัวอย่างใส่ลงไปในขวดดอง ใส่กระดาษบันทึกข้อมูลพรรณไม้ จากนั้นเท เอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ลงไปในขวดดองให้ท่วมตัวอย่าง แล้วจึงปิดฝาให้แน่น (2.4.3) นำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่เย็บติดกับกระดาษแข็งสีขาว พร้อมติดกระดาษบันทึก ข้อมูลพรรณไม้แล้ว และตัวอย่างดองที่มีกระดาษบันทึกข้อมูลพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว เก็บรักษาไว้ เพื่อเป็นตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงในพิพิธภัณฑ์พืชภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หลังจากที่ โครงการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว (2.5) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลด้านอนุกรมวิธานพืช (2.5.1) ชื่อที่ถูกต้องของพรรณไม้ ยึดตามฐานข้อมูลของ Royal Botanic Gardens, Kew, และ The International Plant Names Index (IPNI) (The Plant Names Project, 2004) และยึด ตามหนังสือหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544 (ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้, 2544) และหนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (2.5.2) การเขียนชื่อย่อนักวิทยาศาสตร์ที่เขียนกำกับไว้ด้านหลังชื่อพฤกษศาสตร์ของ พรรณไม้แต่ละชนิด ยึดตามหนังสือ Authors of Plant Names (Brummitt and Powell, 1992) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above