5-11 Labiobarbus leptocheilus (Valenciennes, 1842) สร้อยลูกกล้วย (ภาพที่ 5.10 74.1 mm SL) ลำตัวเพรียวยาวมีหนวดสองคู่ หนวดบริเวณมุมปากมีความยาวไม่เกินขอบท้ายของตา ฐานครีบหลังยาว จำนวนเกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัว 33-34 เกล็ด จำนวนเกล็ดรอบคอดหาง 16 – 20 เกล็ด มีกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำในเขตอินโดจีน Labiobarbus siamensis (Sauvage, 1881) สร้อยลูกกล้วย (ภาพที่ 5.11 46.8 mm SL) ลำตัวเพรียวยาวมีหนวดสองคู่ หนวดบริเวณมุมปากยาวเลยขอบหลังตา ฐานครีบหลังยาว จำนวนก้านครีบมากกว่า 22 ก้าน จำนวนเกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัว 39 – 42 เกล็ด จำนวนเกล็ด รอบคอดหาง 20 -23 เกล็ด มีการกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำบางประกง ลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย Osteochilus hasselti (Valenciennes, 1842) สร้อยนกเขา (ภาพที่ 5.12 153.0 mm SL) ลำตัวป้อมครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว มีจำนวนก้านครีบ 16 – 18 ก้านครีบ มีหนวดสองคู่ บริเวณจะงอยปาก และมุมปากมีลักษณะคล้ายตุ่ม มีจุดดำบริเวณคอดหาง มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Puntius brevis (Bleeker, 1850) ตะเพียนทราย (ภาพที่ 5.13 48.7 mm SL) ลำตัวป้อมสั้นหัวเล็กมีหนวด 1 คู่ บริเวณมุมปาก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว ก้านครีบ หลังอันใหญ่ไม่มีหยัก บริเวณครีบหลังมีแต้มสีดำบนครีบ ครีบหางเว้าลึก โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของอินโดจีนและชวา Puntius orphoides (Valenciennes, 1842) แก้มช้ำ (ภาพที่ 5.14 53.0 mm SL) ลำตัวสั้น ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว บริเวณแก้มหรือแผ่นกระดูกมีสีแดง หลังฝาปิด เหงือกมีแถบสีคล้ำ มีจุดสีดำบริเวณคอดหาง มีจำนวนเกล็ดรอบคอดหาง 16 เกล็ด มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above