Page 202

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-12 Puntius rhombeus Kottelat, 2000 ตะเพียนน้ำตก (ภาพที่ 5.15 46.8 mm SL) ลำตัวสั้นหัวเล็ก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว มีหนวด 1 คู่ ครีบใสสีเหลืองอ่อน บริเวณ จุดเริ่มต้นของครีบหลัง และบริเวณโคนครีบหางมีจุดสีดำ ครีบหางเว้าลึก มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของอินโดจีน Rasbora borapetensis Smith, 1934 ซิวหางแดง (ภาพที่ 5.16 33.8 mm SL) เป็นปลาขนาดเล็กลำตัวเรียวแบนข้าง ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว ปากมีขนาดเล็กเฉียง ขึ้นด้านบน มีตุ่มในปากบริเวณขากรรไกรล่าง บริเวณด้านข้างลำตัวมีแถบสีดำ บางครั้งอาจเห็น แถบสีทองด้านบน ครีบหางมีสีแดงสด เกล็ดรอบคอดหางจำนวน 12 เกล็ด มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของอินโดจีน Rasbora paviana Tirant, 1885 ซิว (ภาพที่ 5.17 62.5 mm SL) ลำตัวเรียวแบนข้าง ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว ปากเล็กมีตุ่มบริเวณขากรรไกรล่าง บริเวณด้านข้างลำตัวมีแถบสีดำ โดยส่วนท้ายจะมีความหนามากกว่าส่วนอื่นๆ (รูปร่างคล้าย สี่เหลี่ยม) ครีบมีสีเหลืองอ่อน ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ครีบหูเล็ก มีเกล็ดรอบคอดหางจำนวน 14 เกล็ด มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดของอินโดจีน Rasbora sp. ซิว (ภาพที่ 5.18 66.0 mm SL) ลำตัวกว้างแบนข้าง ครีบหลังอยู่กึ่งกลางของลำตัว ฐานครีบหลัง และครีบก้นสั้น เกล็ดมี ขนาดค่อนข้างใหญ่ ตาโต ปากมีขนาดปานกลางเฉียงลง ไม่มีหนวด และมุมปากไม่ถึงขอบหน้า ของตา มีแถบดำพาดจากบริเวณกึ่งกลางของลำตัวไปจนถึงฐานครีบหาง ซึ่งปลายแถบบนฐาน ครีบหางมีจุดดำลักษณะเป็นทรงขนมเปียกปูน (ชัดเจนในตัวอย่างที่ตรึงในฟอร์มาลีน 10%) ปลา ชนิดนี้ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาสถานภาพทางอนุกรมวิธาน ซึ่งคาดว่าเป็นชนิดที่ยังไม่มีรายงานจาก ประเทศไทยก่อนหน้านี้ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above