Page 203

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-13 Mystus mysticetus Roberts, 1992 ปลาแขยงข้างลาย (ภาพที่ 5.19 96.6 mm SL) ลำตัวยืดยาว ทรงกระบอก มีหนวด 3 คู่ มีหางแบบเว้าลึก มีครีบไขมันอยู่หลังครีบหลัง ครีบอกมีเงี่ยงแข็ง มีแต้มดำเหนือแผ่นกระดูกปิดเหงือก ลำตัวมีลายแถบสีดำพาดยาวตลอดลำตัว 3 แถบ (spinous ray) มีการกระจายพันธุ์ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง เป็นรายงานครั้งแรกจากลุ่มน้ำเพชรบุรี Pterygoplichthys disjunctivus (Weber, 1991) กดเกราะ (ภาพที่ 5.20 174.4 mm SL) ลำตัวและหัวแบนลงในแนวดิ่ง ถูกปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกที่มีลักษณะคล้ายเกราะ (bony plate) ปากมีลักษณะเป็นปากดูด ครีบอกกางในแนวระนาบคล้ายปีกนก ครีบหางเว้าลึก ด้านท้อง มีลายสีดำคดเคี้ยวและขาดตอน มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำจืดในทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเลี้ยง เป็นปลาสวยงาม แต่ปัจจุบันพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ Liza macrolepis (Smith, 1846) กระบอก (ภาพที่ 5.21 46.8 mm SL) ลำตัวเป็นทรงกระบอกแบนข้างเล็กน้อย หางเว้า ครีบหลังสองตอนอย่างชัดเจน และอยู่ ห่างกัน ปากเล็กอยู่ปลายหัว มีจำนวนแถวของเกล็ดจากจุดเริ่มต้นของครีบหลังไปถึงจุดเริ่มต้นของ ครีบท้องกึ่งกลางครีบท้อง 10-11 แถว มีเยื่อไขมันปกคลุมด้านท้ายของดวงตาเล็กน้อย มีเกล็ดใน แนวเส้นข้างลำตัว 31-35 เกล็ด มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มของ Indo-Pacific Chelon subviridis (Valenciennes, 1836) กระบอก (ภาพที่ 5.22 54.9 mm SL) ลำตัวยาวเป็นทรงกระบอก ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนอย่างชัดเจนและอยู่ห่างกัน ปากเล็ก อยู่ปลายหัว ลำตัวแบนข้าง ครีบหลังแยกเป็นสองตอน มีจำนวนแถวของเกล็ดจากจุดเริ่มต้นของ ครีบหลังถึงส่วนท้อง 13 แถว มีเยื่อไขมันปกคลุมตาประมาณ 2 ใน 3 ของดวงตา อาศัยอยู่ในเขต น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ทั่วน่านน้ำไทยและ Indo-Pacific รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above