Page 209

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-19 มีการกระจายพันธุ์ในเจตน้ำกร่อยและน้ำเค็มตั้งแต่อินเดียตะวันตกถึงคาปสมุทร Indo- Malayan รวมถึงทะเลจีนใต้ และออสเตรเลีย Terapon jarbua (Forsskål, 1775) ข้างตะเภา (ภาพที่ 5.49 61.0 mm SL) ลำตัวค่อนข้างลึกและแบนข้าง มีหนาม 2 อันที่แผ่นกระดูกปิดเหงือก ครีบหลังเว้าลึก ปาก มีขนาดปานกลาง มุมปากเลยขอบหน้าของตา มีแถบโค้งบนลำตัวในแนวระนาบ 3 แถบ มีจุดดำ บนครีบหลัง ครีบก้นและครีบหาง อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและน้ำเค็ม ทั่วชายฝั่งของประเทศไทย และ Indo-Pacific Oreochromis niloticus (Linnaeus, 1758) นิล (ภาพที่ 5.50 75.0 mm SL; ภาพที่ 5.51 137.9 mm SL; ภาพที่ 5.52 150.4 mm SL) ลำตัวลึกและแบนข้าง ปากค่อนข้างเล็กมุมปากไม่เลยขอบหน้าของตา ฐานครีบหลังยาว มีแถบดำตามขวางอยู่บนลำตัว 8-10 แถบ มีแถบดำเส้นเล็กตามขวางบนครีบหาง เป็นปลาที่ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมล้อมได้ดี และทนต่อความเค็มได้ในช่วงกว้าง มีการกระจายพันธุ์ในตอนตะวันตกของทวีปแอฟริกาและลุ่มแม่น้ำ Nile เป็นปลาต่างถิ่น นำเข้าในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2508 ปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทย Omobranchus ferox (Herre, 1927) ตีนแถบ (ภาพที่ 5.53 53.2 mm SL) ลำตัวยาวแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากเล็กและมีฟันเป็นจำนวนมาก ครีบท้องยาวเป็นเส้น มี การกระจายพันธุ์ในเขตน้ำกร่อย และน้ำเค็มทั่วชายฝั่งประเทศไทยและ Indo-Pacific Butis butis (Hamilton, 1822) บู่เกล็ดแข็ง (ภาพที่ 5.54 52.5 mm SL) ลำตัวยืดยาว ส่วนหน้าเป็นทรงกระบอก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย หัวแบนในแนวดิ่ง มี อวัยวะคล้ายเกล็ดแต่มีโครงสร้างอ่อน (auxillary scale) ติดอยู่บริเวณฐานของเกล็ดบนลำตัว ครีบ หลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน มีการกระจายพันธุ์ทั่วเขตน้ำกร่อยและเค็มของ Indo-Pacific รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above